บทที่ 2 ดุลยภาพของlสิ่งมีชีวิต

ส่วนประกอบของเซลล์
ส่วน ที่ห่อหุ้ม เซลล์ หมายถึง โครงสร้างที่ห่อหุ้มไซโทพลาซึมของเซลล์ให้คงรูปร่างและแสดงขอบเขตของเซลล์ ได้แก่ เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane)เยื่อหุ้มเซลล์มีชื่อเรียกได้หลายอย่าง เช่น พลาสมา เมมเบรน (plasma membrane) ไซโทพลาสมิก เมมเบรน (cytoplasmic membrane) เยื่อหุ้มเซลล์มีความหนาประมาณ 75 : อังสตรอม ประกอบด้วยโปรตีนประมาณร้อยละ 60 ลิพิด ประมาณร้อยละ 40 การเรียงตัวของโปรตีนและลิพิดจัดเรียงตัวเป็นสารประกอบเชิงซ้อน การเรียงตัวในลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ยูนิต เมมเบรน (unit membrane)

เซลล์พืช

เซลล์สัตว์

เยื่อหุ้มเซลล์มีหน้าที่หลายประการ คือ
1. ห่อหุ้มส่วนของโพรโทพลาซึมที่อยู่ข้างในทำให้เซลล์แต่ละเซลล์แยกออกจากัน
2. ช่วยควบคุมการเข้าออกของสารต่างๆ ระหว่างภายในเซลล์และสิ่งแวดล้อม มีคุณสมบัติเป็นเซมิเพอร์มีเอเบิล เมมเบรน (semipermeable membrane) ซึ่งจะยินยอมให้สารบางชนิดเท่านั้นที่ผ่านเข้าออกได้ ซึ่งการผ่านเข้าออกจะมีอัตราเร็วที่แตกต่างกัน
3. ความต่างศักย์ทางไฟฟ้า (electrical potential) ของภายในและภายนอกเซลล์เนื่องมาจากการกระจายของไอออนและโปรตีนไม่เท่ากัน ซึ่งมีความสำคัญในการนำสารพวกไอออนเข้าหรือออกจากเซลล์ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการทำงานของเซลล์ประสาทและเซลล์กล้ามเนื้อมาก
4. เยื่อหุ้มเซลล์ทำหน้าที่รับสัมผัสสาร ทำให้เกิดการเร่งหรือลดการเกิดปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์นั้นๆ

นิวเคลียส (nucleus)เป็นโครงสร้างที่มักพบอยู่กลางเซลล์เมื่อย้อมสีจะติดสีเข้มทึบ มีลักษณะเป็นก้อนทึบแสงเด่นชัดอยู่บริเวณกลางๆ เซลล์โดยทั่วๆ ไปจะมี 1 นิวเคลียส เซลล์พารามีเซียม มี 2 นิวเคลียส นิวเคลียสมีความสำคัญเนื่องจากเป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม จึงมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ โดยทำงานร่วมกับไซโทพลาซึม

ผนัง เซลล์ (cell wall)ผนังเซลล์ พบได้ในสิ่งมีชีวิตหลากชนิด เช่น เซลล์พืช สาหร่าย แบคทีเรีย และรา ผนังเซลล์ทำหน้าที่ป้องกันและให้ความแข็งแรงแก่เซลล์ โดยที่ผนังเซลล์เป็นส่วนที่ไม่มีชีวิตของเซลล์

ไซ โทพลาซึม (cytoplasm)เป็นของเหลวที่อยู่นอกนิวเคลียส อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม ซึ่งส่วนเหล่านี้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบธรรมดา ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจึงจะเห็น ซึ่งประกอบด้วย ไมโทคอนเดรีย กอลจิบอดี ไรโบโซม เซนทริโอล ร่างแห่เอนโดพลาซึม คลอโรพลาสต์ แวคิวโอล DNA RNA

หมายเหตุ คลอโรพลาสต์ ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์แสง พบเฉพาะในเซลล์พืชเซนทริโอล ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ พบเฉพาะในเซลล์สัตว์

การ จัดระบบในร่างกาย ระบบอวัยวะต่างๆในร่างกาย คือ อวัยวะแต่ละชนิดทำหน้าที่เฉพาะอย่างแตกต่างกันไป อวัยวะที่ทำหน้าที่ประสานกันเพื่อกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งจะจัดเข้ากลุ่ม ด้วยกันเป็นระบบอวัยวะ มีด้วยกัน 10 ระบบ แต่ละระบบมีอวัยวะที่เกี่ยวข้องและมีหน้าที่ต่างๆกัน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดดุลยภาพในร่างกาย
1. อาหารและโภชนาการ
2. การออกกำลังกายและการเล่นกีฬา
3. การพักผ่อน
4. การหลีกเลี่ยงโรคภัยไข้เจ็บและสิ่งเสพติด
5. การจัดการกับความเครียด
ปัจจัยที่ทำให้เกิดดุลยภาพของสัตว์
1. ภัยธรรมชาติ
2. อาหาร
3. ศัตรู
4. แหล่งที่อยู่
5. สภาพแวดล้อม
ปัจจัยที่ทำให้เกิดดุลยภาพของพืช
1. น้ำ
2. อุณหภูมิ
3. ความเป็นกรด-เบส
4. ปริมาณและชนิดของเกลือแร่ในน้ำ
5. แสง
6. ปุ๋ย