ที่มา : มูลนิธิหมอชาวบ้าน

มะหาด thaihealth

แฟ้มภาพ

ชื่ออื่นๆ : กาแย ขนุนป่า ตาแป ตาแปง มะหาดใบใหญ่ หาดหนุน หาด ปากหาด ฯลฯ ต้นมะหาดพบทั่วไปในที่กึ่งโล่งแจ้ง ป่าเต็งรัง ป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ หัวไร่ปลายนาทั่วไป ถือเป็นผลไม้พื้นบ้านช่วงหน้าร้อน มีให้กินปีละครั้งเท่านั้น ติดผลช่วงมีนาคม – พฤษภาคม ผลสุกสีเหลือง รูปร่างกลมแป้น ทรงบิดๆ เบี้ยวๆ ผิวเปลือกมะหาดขรุขระ แต่เนื้อในผลนุ่ม รสชาติหวานอมเปรี้ยวหอมอร่อย

สรรพคุณทางยา

-แก่น ใช้แก่นมะหาดสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มเคี่ยวกับน้ำจนเกิดฟอง ช้อนฟองออก กรองกับผ้าขาวบาง พักสะเด็ดน้ำ แล้วนำมาตากให้แห้งหรือย่างกับไฟ นำมาบดจะได้ผงสีเหลืองเรียกว่า “ปวกหาด” ใช้ผงประมาณ 3-4 กรัมหรือ 1-2 ช้อนชา ผสมกับน้ำสุกที่เย็นแล้ว สามารถผสมน้ำมะนาวลงไปด้วย รับประทานก่อนอาหารเช้า หลังปวดหาดไปแล้ว 2 ชั่วโมง ให้รับประทานดีเกลือตาม เพื่อถ่ายตัวพยาธิออกมา สามารถทานแก้อาการท้องผูก, ท้องอืด, ท้องเฟ้อได้หรือนำผงปวกหาดมาละลายกับน้ำ ทาแก้ผื่นคัน

-ราก ใช้ลดอาการไข้ แก้กระษัยเส้นเอ็น ขับถ่ายถ่ายพยาธิ แก้พิษร้อน

-เปลือก  ใช้ลดอาการไข้