ROverhate / Pixabay
ROverhate / Pixabay

แมงมุมมีพิษ

(Spiders , Tarantula spp., Latrodectus mactans, Latrodectus geometricus)

ลักษณะ           แมงมุมเป็นสัตว์ที่พบได้ทั่วโลก มีมากมายหลายชนิด มีสีและขนาดแตกต่างกันไป ขึ้นกับชนิดของแมงมุม โดยมีขนาดตั้งแต่ 0.3 ซ.ม. จนถึง 24 ซ.ม. ลำตัวของแมงมุมแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ส่วนหัวที่มีเขี้ยวพิษซึ่งรวมอกไว้ด้วย ส่วนที่สอง คือ ส่วนท้อง แมงมุมจะมีเขี้ยวพิษ 1 คู่ และมีขา 4 คู่

แหล่งที่พบ        แมงมุมจะชอบหลบซ่อนตัวอยู่ตามที่มืด ตามรูใต้พื้นดินหรือตามก้อนหินในเวลากลางวันจะเคลื่อนตัวได้ช้า และออกหากินในเวลากลางคืน โดยจะพรางตัวอยู่ในความมืด ใต้โต๊ะเก้าอี้ หรือตามซอกมุมของบ้าน

ส่วนที่เป็นพิษ    แมงมุมทุกชนิดจะมีพิษใช้สำหรับจับเหยื่อโดยจะปล่อยน้ำพิษ ออกทางเขี้ยวพิษ เมื่อแมงมุมกัดเหยื่อ แมงมุมบางชนิดจะมีขนอยู่บนด้านบนของส่วนท้องที่ทำให้ผู้ที่สัมผัสถูกเกิดอาการแพ้

อาการ            ความรุนแรงจากการได้รับพิษของแมงมุมจะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย อายุ และตำแหน่งของร่างกายที่ถูกแมงมุมกัด โดยถ้าถูกกัดบริเวณในหน้าที่ใกล้กับระบบประสาท อาการจะรุนแรงกว่าการถูกกัดที่ส่วนอื่นของร่างกาย โดยผู้ที่ได้รับพิษของตะคริว และหายใจลำบาก แมงมุมที่พบในประเทศไทยบางชนิด เช่น ชนิดทาแรนทูล่า (Tarantula) นอกจากจะกัดด้วยเขี้ยวพิษแล้ว ขนที่อยู่บนด้านบนของส่วนท้อง ถ้าถูกสัมผัสจะทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง โดยจะมีอาการคัน เป็นตุ่มนานหลายสัปดาห์ หรือถ้าเข้าตาจะทำให้ตาอักเสบอย่างรุนแรงได้ ส่วนแมงมุมแม่ม่ายดำ แม่ม่ายน้ำตาล มีแหล่งกำเนิดในประเทศอื่นแต่อาจมีโอกาสพบในประเทศไทยได้จากการเดินทางขนส่ง ผู้ถูกแมงมุมแม่ม่ายกัดจะมีอาการแพ้อย่างรุนแรง มีแผลเป็นผื่นบวมแดง เจ็บปวดมีหนอง แผลจะหายช้ามาก และจะเกิดเป็นเนื้อตาย ส่วนพิษจะทำลายระบบภูมิคุ้มกัน และระบบน้ำเหลือง รวมทั้งทำลายเม็ดเลือดขาว ขณะนี้ยังไม่มีเซรุ่มแก้พิษ แต่จะใช้วิธีรักษาตามอาการ

การป้องกันและรักษา     หลีกเลี่ยงจากแมงมุม และคอยระมัดระวังตัวเองเมื่อต้องอยู่ในที่มืด แต่ถ้าถูกแมงมุมกัดให้รีบล้างแผลให้สะอาด ไม่ขยับแขนขาที่ถูกกัดและใช้ผ้าพันแผลเพื่อลดการกระจายของพิษและประคบแผลด้วยน้ำแข็ง รับประทานยาระงับปวด ทายาฆ่าเชื้อบริเวณที่แมงมุมกัดเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอนแทรกซ้อน ถ้ามีอาการแพ้พิษอย่งรุนแรงให้รีบไปพบแพทย์

ที่มา: หนังสือแมลง สัตว์ และพืชที่มีพิษและเป็นอันตราย เล่ม 1 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์