RUBBER  CEMENT

Summary for Investors

Rubber Cement is a product of para rubber used in tire pattern-making and tire repair.  Rubber cement is used as an adhesive that makes a tire attach better with a wheel.  There is both local-made rubber cement and imported rubber cement.  The local made product has lower quality that the imported products from Germany, Japan, and India.

The rubber cement market is focused at 15 tire pattern-making factories existing in the country.  Other potential markets are tire repairers or makers of new-pattern tires from used tires.  The latter can extend usage of tires and replace purchase of new tires.  Hence, in marketing rubber cement,    a campaign to promote usage of old tires that are re-patterned, in order to save cost, is necessary. Government.s support from organizations that promote reduction of rubbish from old tires, for  example, can help expand the market, or at least provide a substitute for imports. For Thailand can   grow para rubber which is the main raw material and thus has an advantage over other countries that   have to import it.

At present, there is only one rubber cement maker in the country.  The business is medium-scaled with approximately Baht 15 million capital.  Major raw material used consists of natural para  rubber and carbon dust that is produced locally, and  sulfur, solvent, and other chemicals that are imported.  Machines can be purchased from companies in the country; such as, Allied Tech (Thailand)  Co., Ltd., or imported from other countries; such as, China.  The solvent used in producing  rubber  cement has to be imported and so the price is quite high.

As  for  distribution,  rubber  cement  is  sold  directly to factories that make tire patterns and repair tire.  Local made products are priced at Baht 80-100 per kilogram, more than 5 times cheaper than imported products.  Investment requires around Baht 15 million capital, which is quite high.  40%  of the capital is on fixed assets and 60% on operating costs.  Most of operating costs (87%) is on raw  materials, labors and utility.  The rest 13% is spent on marketing and sales.  Anyway, it is difficult to  specify production cost of this manufacturer as the same assembly line is used to produce rubber  cement and other products at the same period.

The investment capital case of 15 Million Baht., with the production and sales volume of 6 ton  per year and increasing 10% in every year, its price is ~ 90 Baht / Kg., the net profit on sales will be ~ 48.9%. Within 7 years of investment, the internal rate of return (IRR) is expected ~ 13.2%

Interested manufacturers should study formula of imported products in order to manufacture good quality products for import replacement and market expansion.  Advice can be sought from supporting organizations; such as,  Department of Science Service and National Science and Technology Development Agency, etc.

 

 

Rubber Cement

บทสรุปสำหรับนักลงทุน

Rubber  Cement   เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางพาราใช้สำหรับอุตสาหกรรมหล่อดอกยาง  ซ่อมยาง  โดยเป็นตัวประสาน  ระหว่างล้อกับดอกยางให้ติดกันได้ดีขึ้น  ผลิตภัณฑ์  Rubber  Cement ที่มีอยู่ในปัจจุบันมีทั้งผลิตได้ในประเทศ  และทำนำเข้ามาจากต่างประเทศ  โดยสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศยังมีคุณภาพด้อยกว่าที่นำเข้ามาจาก เยอรมนี  ญี่ปุ่น  และอินเดีย

ตลาดสำหรับ  Rubber  Cement เน้นหนักในกลุ่มโรงงานอัดดอกยางรถยนต์  ซึ่งมีอยู่  15  รายในประเทศ  ส่วนตลาดอื่น ๆ ที่มีแนวโน้มการใช้งานคือ  ผู้ซ่อมหรือผลิตยางอัดดอกใหม่จากยางรถยนต์ที่ใช้แล้ว  เพื่อยืดอายุการใช้งานของยางรถยนต์หรือทดแทนการซื้อยางใหม่   ดังนั้น สินค้า  Rubber   Cementจึงต้องการการสนับสนุนในด้านการรณรงค์ให้มีการใช้ยางเก่าเพื่อการอัดดอกใหม่     เพื่อความประหยัด  ซึ่งต้องอาศัยการสนับสนุนจากหน่วยงานของภาครัฐ  เช่นหน่วยงานด้านการลดขยะจากยางเก่าที่ใช้แล้ว  เป็นต้น  จึงจะทำให้ตลาดสามารถขยายตัวได้มากขึ้น  หรืออย่างน้ำยเพื่อทดแทนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเนื่องจากประเทศไทยได้เปรียบในด้านวัตถุดิบคือยางพาราซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต  Rubber  Cement  มากกว่าประเทศที่มีการนำเข้าสินค้ามาในประเทศ

ปัจจุบันมีผู้ผลิต  Rubber  Cement  ในประเทศเพียงรายเดียวเท่านั้นโดยเป็นผู้ผลิตขนาดกลางมีเงินทุนประมาณ  15  ล้านบาท  ใช้วัตถุดิบส่วนใหญ่คือ  ยางธรรมชาติและผงเขม่า  ภายในประเทศ ส่วนสารเคมี  เช่น  กำมะถัน  และ  Solvent  (ยาเร่งยางสุก) เช่น  Acetone  มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศส่วนเครื่องที่ใช้ในการผลิตหาได้จากทั้งบริษัทภายในประเทศ  เช่น  บริษัท  อัลลายด์เทค  (ประเทศไทย)  จำกัด  หรืออาจนำเข้าจากต่างประเทศ  เช่น  จีน  เป็นต้น  ทั้งนี้  การผลิต  Rubber  Cement  ต้องใช้  Solvent  ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทำให้ยังมีราคาค่อนข้างสูง

ในการจำหน่าย Rubber  Cement  ใช้วิธีการขายตรงให้กับโรงงานอัดดอกยางและซ่อมยางโดยสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศ   มีราคาประมาณ 80-100 บาท/กิโลกรัม ซึ่งถูกกว่าสินค้านำเข้ากว่า  5  เท่าตัวด้านการลงทุนนั้นใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงประมาณ  15  ล้านบาท  โดยเป้ฯการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร  ประมาณ  40%  ของเงินลงทุน  และอีก  60%  เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ  ซึ่งส่วนใหญ่ (87%) เป็นค่าวัตถุดิบแรงงานและค่าสาธารณูปโภค  ส่วนอีกประมาณ  13%  ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเป็นค่าการตลาดและการขาย  อย่างไรก็ตามต้นทุนที่ใช้ในการผลิตยังไม่ชัดเจนนักเนื่องจากปัจจุบัน ผู้ผลิตรายเดียวในประเทศยังใช้  Line  การผลิต  Rubber  Cement  ร่วมกับสินค้าชนิดอื่นของโรงงาน

จากเงินลงทุนขึ้นต้น  15  ล้านบาทโดยทำการผลิตและจำหน่าย  Rubber  Cement  ในปริมาณ  6  ตัน/ปี  โดยสามารถจำหน่ายได้เพิ่มขึ้นปีละ  10%  ในระดับราคาเฉลี่ย  90  บาท/กิโลกรัม  ระยะเวลาโครงการ  7  ปี และมีกำไรสุทธิประมาณ  48.9%  จะได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน  13.2 %

ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนควรศึกษาผลิตภัณฑ์ที่มาจากการนำเข้า เพื่อประเมินสูตรที่ใช้ในการผลิตและทำการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และขยายตลาดได้ในส่วนของสินค้าเกรดดีโดยวิเคราะห์สูตรการผลิตนั้นสามารถปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เช่น  การวิทยาศาสตราบริการ  และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  เป็นต้น

  1. ข้อมูลทั่วไปของสินค้า

ไทยเป็นแหล่งผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก  โดยยางพาราธรรมชาติสามารถนำมาผลิตสินค้าได้หลากหลายประเภท  เช่น  ยางยานพาหนะ   ถุงมือยาง   หลอดและท่อยาง   สายพานลำเลียง  ผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ในทางเภสัชกรรม   ยางวัลคาไนซ์  ยางลบ  เป็นต้น  ซึ่งล้วนเป็นสินค้าที่สามารถส่งออกนำรายได้เข้าประเทศได้เป็นอันมาก  อย่างไรก็ตามยังมีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากยางพาราธรรมชาติบางชนิดที่ไทยยังต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศ  เนื่องจากยังขาดเทคโนโลยีการผลิตที่ดีเทียบเท่าต่างประเทศเช่น  ผลิตภัณฑ์  Rubber  Cement  ซึ่งมีการนำเข้าจากต่างประเทศ  เช่น  ประเทศเยอรมัน  ญี่ปุ่น  และอินเดีย  ในราคาสูง

ทั้งนี้  Rubber  Cement  เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมหล่อดอกยาง/ซ่อมยาง  โดยเป็นตัวประสานระหว่างล้อกับดอกยางให้ยึดติดได้ดีขึ้น  โดยรูปแบบผลิตภัณฑ์  Rubber  Cement  ที่ผลิตได้ในประเทศมีลักษณะเป็นแผ่นเคลือบเขม่าดำ  (ต้องผสม  Solvent  ก่อนการใช้)  แต่ผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศมีลักษณะเป็นของเหลวบรรจุกระป๋องสามารถเปิดใช้ได้ทันที

 

  1. ด้านการตลาด
  • ลักษณะตลาดโดยทั่วไปของสินค้า  Rubber  Cement

สินค้าประเภท  Rubber  Cement  เป็นสินค้าที่ใช้ในโรงงานอัดดอกยางรถยนต์ซึ่งมี  15  ราย  ในประเทศที่ใช้สินค้าดังกล่าวนี้

ตลาดส่วนอื่น ๆ  ในประเทศนั้นจะยังไม่เป็นที่รู้จักและยังไม่นิยมใช้กันมากนัก  แต่แนวโน้มในอนาคตผู้บริโภคที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย  สามารถนำล้อรถเก่ามาอัดดอกยางใหม่ทดแทนการซื้อล้อรถใหม่ได้ทำให้ตลาดมีแนวโน้มความต้องการใช้  Rubber  Cemtnt  สูงขึ้นในอนาคต  ปัจจุบันมีผู้ผลิต  Rubber  Cement   เพียง  1  รายในประเทศ  ดังนั้นหากทำการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพสูงเทียบเท่าต่างประเทศ  โดยเฉพาะในตลาดแถบประเทศอาเซียนใหม่  เนื่องจากไทยมีความได้เปรียบจากวัตถุดิบที่มีอยู่ในประเทศเป็นจำนวนมาก  และมีค่าแรงต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง  คือ  มาเลเซีย  แต่ทั้งนี้หน่วยงานภาครัฐควรให้การสนับสนุนด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพโดยการรณรงค์ให้มีการนำยางเก่ากลับมาใช้ใหม่ โดยกรรมวิธีที่กล่าวไว้แล้วในข้างต้นเพื่อให้ผู้ผลิต  Rubber  Cement  ในประเทศสามารถมีตลาดที่กว้างขวางขึ้นได้เช่นเดียวกับต่างประเทศ  เช่น  รัฐบาลรัสเซียได้จัดงาน  Expo  ผลิตภัณฑ์ยางโดยเฉพาะ  ซึ่งทำให้เกิดการติดต่อระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มโอกาสของการเกิดธุรกรรมมากขึ้น

 

  • ผู้ผลิต/ปริมาณการผลิต

ปัจจุบันจากการสำรวจ  ณ  เดือนตุลาคม  2544  พบว่า  มีผู้ผลิต  Rubber  Cement  ในระดับ  อุตสาหกรรมเพียงรายเดียวเท่านั้น  คือ บริษัท  อินทราแมชชินเนอรี่  จำกัด  59/10  ม.2   ต.ขุนศรี  อ.ไทรน้อย   จ.นนทบุรี   11150   Tel:  0-2921-9536-7   Fax:  0-2921-9538  ด้วยเงินทุนจดทะเบียน  15  ล้านบาท  มีปริมาณการผลิต Rubber  Cement  ประมาณ  500  กิโลกรัม/เดือน

 

  • การจัดจำหน่ายและราคาจำหน่าย

ในการจัดจำหน่ายสินค้าประเภท  Rubber  Cement  ของผู้ผลิตในประเทศส่วนใหญ่จะจำหน่ายตรงให้กับผู้ใช้  ได้แก่  โรงงานอัดดอกยาง/ซ่อมยาง  โดยราคาจำหน่าย  80-100  บาท/กิโลกรัม  โดยหากเปรียบเทียบราคา  Rubber  Cement  ที่นำเข้ามานั้น ราคาอยู่ในช่วง  500  บาท/กระป๋อง (500  ml.)

 

  1. ด้านการผลิต
  • วัตถุดิบในการผลิต

วัตถุดิบสำคัญได้แก่  ยางธรรมชาติใช้ประมาณ  56%  และผงเขม่าดำซึ่งมีอยู่ภายในประเทศใช้         ประมาณ  27%  ส่วนสารเคมี  เช่น  กำมะถัน  ยาเร่ง  ยาสุก  เช่น  สาร  Acetone ใช้ประมาณ  17%  ซึ่งยังต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ  โดยราคาของวัตถุดิบประเภทยางธรรมชาติจะมีราคาขึ้งลงอิงตามตลาดสิงคโปร์  ซึ่งในช่วงหน้าฝนจะมีราคาสูง (กิโลกรัมละ  29-30  บาท)  แต่ในช่วงหน้าร้อนจะมีราคาถูกลง  ประมาณกิโลกรัม  ละ 22  บาท

  • เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต

เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตประกอบด้วย

  • เครื่องเคี้ยวยางที่ทำให้ยางอ่อนตัว
  • เครื่องผสมเพื่อผสมสารเคมี ผงเขม่าและยางให้เป็นเนื้อเดียวกัน
  • เครื่องจักร Extruder  สำหรับทำให้เป็นแผ่น  Rubber  Cement
  • ขั้นตอนและกระบวนการผลิต

 

 

หมายเหตุ :  เป็นกระบวนการผลิตที่จะต้องนำแผ่น  Rubber  Cement มาละลายใน  solvent  ก่อน  การใช้     แต่ในกรณีที่นำเข้ามาจากต่างประเทศนั้นเป็นรูปแบบของเหลวที่นำมาเปิดใช้ได้ทันที  เนื่องจากมีการผสม  Solvent  มาเรียบร้อยแล้ว

 

  • ปัญหาด้านการผลิต

ตามที่กล่าวมาข้างต้นว่าประเทศไทยยังต้องนำเข้าสินค้าประเภท  Rubber  Cement  เนื่องจากไทยยังไม่สามารถผลิตให้มีคุณภาพเทียบเท่าด้วยข้อจำกัดต่างๆ  ทั้งด้าน  Know   how  และเทคโนโลยีในการผลิต  และข้อจำกัดด้านสถานที่ในการเก็บรักษาและการขนส่ง  เงื่อนไขของทางหน่วยงานรัฐโดยในการผลิต  Rubber  Cement  ต้องใช้ Solvent  เป็นส่วนผสมซึ่ง  Solvent  ที่มีคุณภาพยังมีราคาสูงและจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศด้วยเช่นกัน

 

  • บุคลาการและแรงงานที่เกี่ยวข้องในการผลิต

ธุรกิจการผลิตสินค้าประเภท  Rubber  Cement  ยังไม่สามารถระบุจำนวนบุคลากรในการผลิตที่ชัดเจนได้  เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีผู้ผลิตที่ทำการผลิต  Rubber  Cement  เพียงอย่างเดียวแต่จะมีการผลิตสินค้าประเภทอื่นๆ  ควบคู่กันไปด้วย  โดยมีบุคลากรทั้งสิ้นประมาณ  60  คน  ประกอบด้วยผู้บริหารประมาณ  10  คน  และระดับปฏิบัติการ  ประมาณ  50  คน

 

  1. ด้านการลงทุนและการเงิน

การลงทุนผลิตสินค้า  Rubber  Cement  จากตัวอย่างการลงทุนของผู้ผลิตที่มีอยู่เพียงรายเดียวในประเทศ  พบว่า  ใช้เงินลงทุนประมาณ  15  ล้านบาท  โดยเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรประมาณ  40%  ของเงินลงทุนทั้งหมด  และอีก  60%  เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ

ทั้งนี้สัดส่วนของค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจประกอบไปด้วย  ค่าใช้จ่ายในการผลิตค่อนข้างสูงถึงประมาณ  87%  ซึ่งรวมถึงต้นทุนวัตถุดิบ  ค่าแรงงาน  ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร  และสาธารณูปโภคต่าง ๆ ส่วนค่าใช้จ่ายในการตลาดและการขาย  มีสัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำ  เพียงประมาณ  13%  ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจทั้งหมด

อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการที่มีอยู่ยัง ไม่สามารถแจกแจงค่าใช้จ่ายด้านต้นทุนในการผลิตได้ชัดเจนเนื่องจากเป็นการผลิตโดยใช้  Line  การผลิตร่วมกับสินค้าชนิดอื่นๆ  ทำให้แจกแจงค่าใช้จ่ายที่แท้จริงได้ค่อนข้างยาก

 

  • สัดส่วนของวัตถุดิบที่ใช้

 

ประเภท สัดส่วน
วัตถุดิบ  
– ยางธรรมชาติ 56%
– สารเคมี 17%
– ผงเขม่าดำ 27%
รวม 100%

หมายเหตุ: ณ  ปัจจุบันยังไม่สามารถคำนวณต้นทุนการผลิตในด้านอื่นได้เนื่องจาก มีการผลิตปริมาณน้อย  และใช้  Line  การผลิตร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ

จากเงินลงทุนขั้นต้น 15 ล้านบาทโดยทำการผลิตและจำหน่าย Rubber Cement ในปริมาณ 6 ตัน/ปี  โดยสามารถจำหน่ายได้เพิ่มขึ้นปีละ  10%  ในระดับราคาเฉลี่ย  92  บาท/กิโลกรัม  ระยะเวลาโครงการ  7  ปี  และมีกำไรสุทธิประมาณ  48.9%  จะได้รับอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน

 

ภาคผนวก : Rubber  Cement
  1. แหล่งข้อมูลด้านเทคโนโลยีในการผลิต Rubber  Cement

ในประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานใดให้การสนับสนุนด้านการผลิต    Rubber  Cement       ดังนั้นผู้

ผลิตจะต้องศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ/วารสาร  ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านยางซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังสือและวารสารจากต่างประเทศ  หลังจากนั้นจึงทดลองทำการผลิตด้วยตนเอง