พืชสมุนไพร

พืชสมุนไพร  เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานับพันปี แต่เมื่อการแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา

สรรพคุณและคุณค่าของสมุนไพรอันเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าภูมิปัญญาโบราณก็เริ่มถูกบดบังไปเรื่อยๆ และถูกทอดทิ้งไปใน

ที่สุดความจริงคนส่วนใหญ่ก็พอรู้ๆ กันว่า

สมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง และใช้ได้อย่างกว้างขวาง

แต่เป็นเพราะว่าเราใช้วิธีรักษาโรคแผนใหม่มานานมากจนวิชาแพทย์แผนโบราณที่มีสมุนไพรเป็นยาหลักถูกลืม

ภาครัฐเริ่มกลับมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทยอีกครั้งด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535

ว่า  ” ให้มีการผสมผสานการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม”

แล้ววันนี้จะขอยกตัวอย่างสมุนไพร 3 ชนิด

 

1.กานพลู

 

**เอาก็ได้ไม่เอาก็ได้**

 

วิธีและปริมาณที่ใช้ :

 

แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม และปวดท้อง

 

ใช้ดอกกานพลูโตเต็มที่ ที่ยังตูมอยู่ 4-6 ดอก

 

ในผู้ใหญ่  – ใช้ทุบให้ช้ำ ชงน้ำดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว

 

ในเด็ก –  ใช้ 1 ดอก ทุบแล้วใส่ลงในขวดนม

 

เด็กอ่อน – ใช้ 1 ดอก ทุบใส่ในกระติกน้ำที่ไว้ชงนม

 

ใช้ทั้งดอกเคี้ยว แล้วอมไว้ตรงบริเวณที่ปวดฟันเพื่อระงับอาการปวด

 

ใช้ดอกตูม 2-3 ดอก อมไว้ในปาก จะช่วยทำให้ระงับกลิ่นปากลงได้บ้าง

 

**

 

เปลือกต้น  –  แก้ปวดท้อง แก้ลม

 

ใบ –  แก้ปวดมวน (ปวดท้องปั่นป่วน)

 

ดอกตูม – รับประทานขับลม ใช้แต่งกลิ่น

 

ผล –  ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม

 

น้ำมันหอมระเหยกานพลู – ใช้เป็นยาชาเฉพาะแห่ง แก้ปวดฟัน

 

 

 

 

 

 

2.พริกไทย

 

**เอาก็ได้ไม่เอาก็ได้**

 

วิธีและปริมาณที่ใช้ :  ใช้เมล็ด 0.5-1 กรัม ประมาณ 15-20 เมล็ด บดเป็นผง ชงรับประทาน 1 ครั้ง

 

**

 

ใบ  –   แก้ลมจุกเสียดแน่น ท้องอืดเฟ้อ

 

ผล – ผลที่ยังไม่สุกนำมาเป็นเครื่องเทศ แต่งกลิ่นอาหาร

 

เมล็ด – ขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ  อาหารไม่ย่อย

 

ดอก –  แก้ตาแดง ถนอมอาหารหลายชนิด เช่น มะม่วงดอง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3.โหระพา

 

**เอาก็ได้ไม่เอาก็ได้**

 

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น เมล็ด และราก

 

ทั้งต้น – เก็บเมื่อเริ่มเข้าฤดูหนาว ขณะเจริญเต็มที่ มีดอกและผลล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนตาแห้งเก็บไว้ใช้

 

เมล็ด – นำต้นไปเคาะ แยกเอาเมล็ดตากแห้งเก็บไว้ใช้ (ระวังไม่ให้ถูกน้ำเพราะจะจับกันเป็นก้อน)

 

ราก – ใช้รากสด หรือตากแห้ง เก็บไว้ใช้

 

**

 

ทั้งต้น

– รสฉุน ขับลม ทำให้เจริญอาหาร

– แก้ปวดหัว หวัด

– จุกเสียดแน่นท้อง

– ประจำเดือนผิดปกติ

เมล็ด

– รสชุ่ม เย็น ถูกน้ำจะพองตัวเป็นเมือก

– ใช้แก้ตาแดง

– ใช้เป็นยาระบาย