ระหว่างการประชุมประจำฤดูใบไม้ร่วงของสหภาพ ธรณีฟิสิกส์อเมริกัน (American Geophysical Union) คณะนักวิจัยรายงานเมื่อ 13 ธ.ค.59 ว่า ช่วงเวลา 170 ล้านปีที่ผ่านมา ความหนาของเปลือกภูเขาไฟที่เกิดขึ้นใหม่บนพื้นทะเลนั้นบางลง ซึ่งบ่งชี้ว่าใต้เปลือกโลกเย็นลงเร็วกว่าที่เคยคาดไว้เมื่อก่อนถึงสองเท่า
ฮาร์ม ฟาน อะเวนดองค์ นักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส วิทยาเขตออสติน หนึ่งในทีมผู้เขียนรายงาน กล่าวว่า เปลือกโลกที่เย็นลงอย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นอย่างลึกซึ้งใหม่ว่าโครงสร้างของพื้นผิวโลกควบคุมอุณหภูมิภายในของโลกอย่างไร เราเห็นเปลือกมหาสมุทรบางแบบนี้บนพื้นทะเล ซึ่งอาจจะไม่มีอยู่เมื่อหลายร้อยล้านปีก่อนเปลือกหุ้มห่อโลกประกอบด้วยหินร้อนภายใต้แรงกดดันสูง ขณะที่ส่วนประกอบเคลื่อนตัวขึ้นสู่ผิวโลก แรงกดดันจะต่ำลงและหินเริ่มละลาย วัตถุที่หลอมละลายนี้สามารถแผ่กระจายขึ้นไปบนพื้นผิวกลางสันมหาสมุทร
และก่อตัวเป็นเปลือกนอกขึ้นใหม่ เมื่อเปลือกนอกร้อนขึ้น อาณาเขตหลอมละลายจะใหญ่ขึ้น ส่งผลให้เปลือกนอกหนาขึ้นด้วย อุณหภูมิบริเวณส่วนบนของเปลือกอยู่ระหว่าง 500-900 องศาเซลเซียส.

http://www.thairath.co.th/content/822629