ผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (สัตว์) โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านยางขาม
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (สัตว์) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (สัตว์) และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (สัตว์) โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านยางขาม ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านยางขาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ในครั้งนี้ประกอบไปด้วย ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (สัตว์) แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ ผู้ศึกษาได้นำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และค่าร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า 1. การสร้างและประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (สัตว์) โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนบ้านยางขาม ในภาพรวม พบว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดร้อยละ 80/80 คือ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.60/83.86
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (สัตว์) โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนบ้านยางขาม คะแนนก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ย ( = 13.79, =1.88) คิดเป็นร้อยละ 45.96 และคะแนนหลังเรียนเฉลี่ย ( =25.16, =2.32) คิดเป็นร้อยละ 83.86 คะแนนร้อยละความต่าง 37.89 แสดงว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (สัตว์) โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านยางขาม พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, = 0.58) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ( = 4.67, =0.46)
ผลงานโดย :
นางมยุรี มะกาว
โรงเรียนบ้านยางขาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2