อาหารกับการพัฒนาการทางอารมณ์
อาหารกับการพัฒนาการทางอารมณ์ ช่วง 2 ขวบปีแรกเป็นช่วงที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของสมอง ภาวะโภชนาการของเด็กวัยแรกเกิดถึง 2 ปี จึงมีความสำคัญมาก ปัญหาการกินในเด็กเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในการดูแลสุขภาพเด็ก โดยมักพบว่าเป็นปัญหามากตั้งแต่แรกเกิดถึงวัยอนุบาล ส่วนหนึ่งซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของปัญหาการกิน คือ เรื่องของพัฒนาการเด็ก และพื้นฐานอารมณ์ พัฒนาการสะท้อนถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็ก และสิ่งแวดล้อม ส่วนพื้นฐานทางอารมณ์ หรือพื้นอารมณ์ หมายถึงลักษณะ หรือการแสดงออกของพฤติกรรม จากการศึกษาพบว่าเด็กแรกเกิดแต่ละคนมีพื้นฐานอารมณ์ติดตัวมาแล้ว และแตกต่างกันในเด็กแต่ละคน พื้นฐานอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับการกินของเด็ก ได้แก่
- ช่วงจังหวะในการกิน การนอนของเด็ก เด็กที่เลี้ยงง่าย มักกิน นอน และหิวเป็นเวลา ทำให้ผู้เลี้ยงสะดวกในการดูแล
- ลักษณะการตอบสนองต่อสิ่งใหม่ที่เข้ามา เช่น อาหารใหม่ ของเล่นใหม่ คนแปลกหน้า เด็กที่ถูกเลี้ยงมาดีมักตอบสนองดีต่ออาหารใหม่ ๆ ปรับตัวง่าย
หลักการให้อาหาร
- เด็กวัยแรกเกิดถึง 1 ปี อาหารหลักของเด็กวัยนี้ คือ นม
- เด็กอายุแรกเกิดถึง 3 เดือน เด็กที่กินนมแม่อาจกินบ่อยกว่า มักกินทุก 2-3 ชั่วโมง การให้นมแม่บ่อยเกินไป เช่น น้อยกว่าทุก 2 ชั่วโมง กลับจะทำให้การสร้างน้ำนมลดลง ในขณะที่เด็กกินนมผสมจะกินทุก 3-4 ชั่วโมง การให้นมควรสัมพันธ์กับการหิวของเด็ก
โดยปกติเมื่อเด็กหิวจะเกิดความกดดันขึ้น ตามด้วยการร้องไห้ การตอบสนองโดยการให้นมแก่ลูก จะมีลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- การให้นมตามความต้องการ หรือความหิวของเด็ก หมายถึง การให้นมเมื่อเด็กหิว และต้องการจริง ๆ การให้นมลักษณะนี้จะช่วยให้เด็กทารกเชื่อมโยง การเข้ามาของแม่กับการทำให้ความหิวลดลง
- การให้นมตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ทุก 3-4 ชั่วโมง จะช่วยให้เด็กทารกพยายามปรับช่วงจังหวะของความหิวให้เข้ากับเวลาที่เรากำหนดในเด็กที่ปรัตัวให้เข้ากับเวลาที่กำหนดไม่ได้อาจเป็นเพราะ พื้นฐานอารมณ์ คือ เป็นเด็กที่จังหวะเวลาของการหิวไม่สม่ำเสมอ คือ ช่วงการกินการนอนไม่เป็นเวลานั่นเอง เด็กยังกินไม่อิ่ม เด็กถูกบังคับให้กินทั้งทั้งที่ยังไม่หิว
- ให้ตามความพร้อม และความสะดวกของแม่ ไม่สนใจว่าเด็กหิวหรือไม่ และไม่กำหนดช่วงเวลาการให้นมที่แน่นอน ลักษณะการให้นมนี้จะไม่ทำให้เด็กรู้สึกว่าการกินเป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจ ผลเสียที่ตามมา คือ เด็กจะหงุดหงิดง่าย เลี้ยงยาก และอาจมีปัยหาแหวะนม
- เด็กอายุ 3-6 เดือน
- เด็กที่กินนมแม่อาจกินนมแม่หลายครั้ง แ่เด็กที่กินนมผสมมักหลับยาวตลอดคืน
- เด็กอายุ 4 เดือน มักหลับกลางคืนต่อเนื่องกันได้ 8 ชั่วโมง
- ภต่ถ้าพ่อแม่ตอบสนองทุกครั้งต่อการตื่นของเด็กด้วยการอุ้ม หรืออาจให้นมกินทุกครั้งที่ร้องจะทำให้เด็กเชื่อมโยงการร้องกับการกินนม
- เด็กจะตื่นขึ้นมากินนมเวลากลางคืนหลายครั้ง การให้อาหารในช่วงอายุ 1-2 ปี
ข้อควรรู้สำหรับพ่อแม่
- อัตราการเจริญเติบโตของเด็กในขวบปีที่สองจะลดลง ความอยากอาหารก็ลดลงด้วย (เด็กอายุ 1 ปีจะมีน้ำหนักประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตอนแรกเกิด แต่กว่าน้ำหนักจะเป็น 4 เท่าอาจถึงอายุ 2 ปี)
- ถึงแม้ว่าจะดูเหมือนกินน้อย แต่ถ้าน้ำหนักของเด็กขึ้นตามปกติ ถือว่าไม่มีปัญหา
- อาหารหลักของเด็กวัย 1 ปีขึ้นไป คือ ข้าว อาหาร 5 หมู่ ไม่ใช่นม
- ส่วนใหญ่เด็กที่กินแต่นม เช่น 8 ออนซ์ 5-6 มื้อ ไม่ค่อยกินข้าว น้ำหนักมักไม่ขึ้น บางคนน้ำหนักอาจตกเกณฑ์ได้
- ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่ควรกินอาหารบางหมู่มากเกินไป เช่น กินแต่ผลไม้ ไม่กินข้าว
- พัฒนาการของเด็กวัย 1-2 ปี จะต้องการความเป็นอิสระ และเป็นตัวของตัวเอง ถ้าถูกควบคุม บังคับ โดยเฉพาะเรื่องการกิน เด็กอาจต่อต้าน ในลักษณะปฏิเสธอาหาร
- ปัญหาการกินขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ความคาดหวังของพ่อแม่ ไม่เข้ากับความต้องการ หรือพื้นฐานอารมณ์ของเด็ก
สัญญาณของการเริ่มมีปัญหาการกินในเด็ก
- อมข้าว
- บ้วนคายอาหารทิ้ง
- หงุดหงิด ร้องไห้งอแง เมื่อถึงเวลากินอาหาร
- เล่นอาหาร ไม่ยอมกิน
- ใ้ช้เวลาในการกินอาหารนานผิดปกติ เช่น ใช้เวลากินอาหารเป็นชั่วโมง
ข้อควรปฏิบัติในเด็กที่มีปัญหาการกิน
- ถ้าให้นมมากเกินไป ต้องลดนมลง ในเด็กที่มีปัญหาการกินมาก ๆ อาจต้องจำกัดนมไม่ให้เกิน 16 ออนซ์ต่อวัน หรือเท่ากับนม 8 ออนซ์ 2 มื้อ ซึ่งถ้าจำเป็นมักทิ้งมือนมไว้ก่อนนอนกลางวัน และก่อนนอนกลางคืน นมมือกลางคืนอาจขวางอาหารมือเช้า ควรงดนมช่วงกลางคืน โดยเฉพาะนมช่วงเช้ามืด ควรเลิกนมขวดเมื่ออายุ 1 ปี หรือก่อน 2 ปี เด็กที่ดูดขวดนม หลับคาปากจะทำให้ฟันผุ มีปัญหาเกี่ยวกับอาหารตามมา
- ทิ้งช่วงห่างระหว่างมื้ออาหาร (นมกับข้าว) อย่างน้อย 4 ชั่วโมง ควรทำตารางเวลาการให้อาหารไว้ เพื่อสะดวกในการประเมินความเหมาะสมของอาหาร และระยะห่างของอาหารแต่ละมื้อ
- งดอาหารหวานทุกชนิด เช่น ขนมถุง ขนมซอง ไอศครีม น้ำอัดลม น้ำหวาน ทอฟฟี่ ชอคโกแลต
- เวลากินอาหารควรเป็นบรรยากาศสบาย ๆ ไม่ควรคาดหวังเข้มงด หรือทำให้เด็กรู้สึกเครียด ไม่ควรวิพากษ์ วิจารณ์ ปริมาณอาหารที่เด็กกิน
- ไม่ควรดุว่า ลงโทษ แสดงอารมณ์โกรธ ไม่พอใจ หรือพูดให้เด็กรู้สึกผิด
- ฝึกให้เด็กช่วยเหลือตัวเองในการกิน เช่น เด็กอายุ 1 ปีเริ่มจะตักข้าวกินเองได้ โดยยอมให้หกเลอะได้ ไม่ควรป้อน หรือพยายามบังคับให้เด็กกิน หาอาหารซึ่งเด็กสามารถใช้มือหยิบจับกินเองได้สะดวก เช่น น่องไก่ ข้าวเหนียวปั้น เด็กจะรู้สึกสนุกกับการกินมากขึ้น
- ตักอาหารน้อย ๆ ในถ้วยหรือจานสำหรับเด็ก ถ้าไม่พอจึงค่อยเติม
- ถ้าเด็กไม่กิน หรือเล่นอาหารให้เก็บอาหาร โดยไม่ให้นม หรือขนมอีกเลยจนกว่าจะถึงอาหารมื้อใหม่ ถ้าเด็กหิวก่อนอนุญาตให้กินอาหารเดิม คือมื้อที่เด็กปฏิเสธไป โดยอาจนำมาอุ่นใหม่
- ถ้ามื้อนี้กินน้อย มื้อหน้าเด็กจะกินมากขึ้น
- กินพร้อมผู้ใหญ่จะช่วยกระตุ้นให้เด็กอยากอาหาร
ระเบียบวินัยในการกิน
- เริ่มมืออาหารบนโต๊ะอาหารเสมอ ไม่ควรลุกออกไป เล่นไปกินไป หรือเดินตามป้อน
- เวลาในการกินอาหารไม่ควรเกิน 20-30 นาที
- ไม่เปิดโทรทัศน์ ขณะกินอาหาร และไม่ควรเล่นของเล่นบนโต๊ะอาหาร เพระาจะดึงความสนใจเด็ก จากอาหารที่อยู่ตรงหน้า และจะเกิดเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสม
เด็กไม่กินผักเด็กเกลียดผักไม่ชอบกินผัก
- ผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างในการกินผัก
- ดัดแปลงอาหารให้น่ากิน เช่น โคโรเกะ (อาหารญี่ปุ่น)
- ให้เด็กมีส่วนร่วมในการไปจ่ายตลาด จัดให้เด็กเอาพืชผักมาแต่งเป็นรูปสัตว์