สำหรับการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2561 ล่าสุด!! ได้มีการอัพเดทออกมาใหม่อีกรอบแล้ว จากที่ประชุมอธิการบอดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เมื่อครั้งล่าสุดที่ผ่านมา ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นในการรับสมัครในแต่ละรอบ โดยมีข้อควรรู้เพิ่มเติมดังต่อไปนี้
การคัดเลือกนักศึกษาใหม่ 2561
ข้อควรรู้เกี่ยวกับตัวผู้สมัคร
- นักเรียนต้องอยู่ในห้องเรียนจนจบ ม.6 ก่อนที่จะมีการสอบข้อเขียน
- นักเรียนแต่ละคมีเพียง 1 สิทธิ์ ในการเลือกที่เรียน เพื่อความเสมอภาค
- ทุนสถาบันการศึกษาในเครือข่าย ทปอ. จะต้องเข้าร่วมระบบ Clearinghouse
การสมัครมีทั้งหมด 5 รอบ ดังนี้
1. การสมัครด้วย Portfolio โดยไม่มีการสอบข้อเขียน
สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษต่างๆ จะเน้นการดูผลงานของนักเรียน จาก Portfolio พร้อมทั้งการสอบสัมภาษณ์ แต่จะไม่มีการทำข้อสอบเขียน โดยโครงการเหล่านี้จะได้แก่ โควตานักกีฬา โควตาโอลิมปิกวิชาการ โตวตานักดนตรี เป็นต้น
2. การรับแบบโควตาที่มีการสอบข้อเขียนหรือปฏิบัติ
สำหรับนักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่ (ที่สถาบันการศึกษาได้กำหนดเอาไว้) หรือเป็นโควตานักเรียนในเครือขาย และโครงการความสามารถพิเศษต่างๆ เช่น โควตาภาค คือต้องเป็นนักเรียนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่น ภูมิภาค หรือโควตาโรงเรียนในเครือข่ายเท่านั้น เป็นต้น โดยที่สถาบันการศึกษาสามารถประกาศเกณฑ์การสมัครคัดเลือกได้เอง เพื่อให้นักเรียนสามารถทำการสมัครได้โดยตรงกับทางสถาบันการศึกษาเลย
3. การรับตรงร่วมกัน
สำหรับนักเรียนที่เข้าร่วมสอบในโครงการ กสพท. โครงการอื่นๆ และนักเรียนทั่วไป ทาง ทปอ. จะเป็นหน่วยกลางในการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาต่อไป โดยที่นักเรียนสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา (ไม่มีการจัดอันดับ) และสถาบันการศึกษาต้องจัดให้มีการสอบกลางร่วมกันในเวลาเดียวกัน
ซึ่งทาง ทปอ. จะเป็นคนที่ระบุระยะเวลาออกมา ให้สถาบันการศึกษาจัดสอบในช่วงที่กำหนดเอาไว้เท่านั้น โดยวิชาที่จัดสอบไม่ควรทับซ้อนกับวิชากลางที่จัดสอบ เช่น GAT/PAT หรือ 9 วิชาสามัญ เป็นต้น แต่ทางมหาวิทยาลัยสามารถระบุเกณฑ์การคัดเลือกได้อย่างเป็นอิสระ
4. การรับแบบแอดมิชชัน (Admissions)
สำหรับนักเรียนทั่วไป ทปอ. จะเป็นหน่วยกลางในการรับสมัคร เกณฑ์การคัดเลือกจะเหมือนระบบ Admissions เดิมทั้งหมด เพราะถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การรับสมัครนั้น ทาง ทปอ. จะทำการแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 3 ปี ถึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การรับสมัครได้
5. รับตรงอิสระ
สถาบันการศึกษาสามารถรับสมัครนักศึกษาใหม่ได้เอง ด้วยวิธีการรับสมัครที่ทางสถาบันกำหนดเอาไว้ได้เลย
*** สรุป ***
สิ่งที่เปลี่ยนหลักๆ เลยก็คือ ระบบเคลียริงเฮาส์ที่ในตอนแรกจะมีการแยกออกเป็น 2 รอบ แต่ในครั้งนี้หลังจากการประชุมล่าสุด ทาง ทปอ. ได้ระบุว่าระบบเคลียริงเฮาส์นั้น จะไม่มีการแยกออกเป็นรอบๆ แล้ว เพราะทุกครั้งก็คือเคลียริงเฮาส์ทั้งหมด
เราจะเห็นได้ว่าการรับสมัครคัดเลือกนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2561 นั้น มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น มีการแยกรับสมัคร 5 รอบอย่างชัดเจน ใครที่สอบติดรอบไหน ต้องมีการยืนยันสิทธิ์ในระบบเคลียริงเฮาส์ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการกั๊กที่กั๊กสิทธิ์ในรอบต่อๆ ไปนั่นเอง หากน้องๆ คนไหนที่สอบติดแล้ว ยืนยันสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น หากต้องการที่สมัครในรอบต่อไปอีกนั้น จะไม่สามารถสมัครได้ ถ้าไม่สละสิทธิ์ในรอบแรกเสียก่อน ดังนั้นน้องๆ ที่สอบติดแล้วต้องตัดสินใจให้ดีๆ เลย ว่าเราต้องการยืนยันสิทธิ์หรือต้องการที่จะสมัครใหม่ ไม่งั้นจะพลาดโอกาสไม่รู้ด้วยน้า
ที่มา : http://campus.campus-star.com/education/36018.html
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.cupt.net/home.php