กระทอนหรือสะทอน ไม้ป่ายืนต้น เนื้อแข็ง ที่พบมากบริเวณแนวป่าเชิงเขา ระหว่างเขตติดต่ออำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย  กับ อำเภอนครไชย จังหวัดพิษณุโลก ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่ใบของกระทอนจะเริ่มแตกใบอ่อน ชาวบ้านก็จะนำใบกระทอนอ่อนมาหมัก และต้ม จนได้น้ำกระทอนไว้ใช้รับประทานกันเป็นน้ำปรุงรสแทนน้ำปลา

เตรียมอุปกรณ์
1.ใบกระทอน
2.กระทะใบบัว
3. ผ้าขาวบาง
4. กระชอน
5.โอ่งมังกร หรือ ภาชนะอื่นๆ
6.เกลือสำหรับปรุง

ขั้นตอนการทำน้ำกระทอน 
ขั้นแรก นำใบอ่อนนกระทอนและกิ่งอ่อนของกระทอนมาตำโดยใช้ครกกระเดื่องหรือเครื่องบด แต่ไม่ถึงกับละเอียดมากนัก จากนั้นนำมาหมักในโอ่งมังกรไว้ประมาณ 4-5 วัน
หลังจากหมักใบกระทอนได้ที่ตามกำหนดแล้วจึงนำมาคั้นน้ำ กรองด้วยผ้าขาวบางเอาเศษใบกระทอนที่เหลือออกจะได้น้ำกระทอนที่มีสีเขียวอ่อน นำน้ำกระทอนที่ได้มาเคี่ยวในกระทะใบบัวประมาณ 6 ชั่วโมง หรือเคี่ยวจนน้ำแห้งเหลือประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของน้ำที่ต้มสีของน้ำกระทอนจะกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม เติมเกลือเพื่อปรุงรสเพิ่มรสชาติให้กลมกล่อม ตั้งไว้ให้เย็นแล้วบรรจุในภาชนะขวดแก้ว พร้อมปิดฝาให้แน่น นำไปปรุงอาหารแทนน้ำปลา

 การทำน้ำกระทอน
ข้อมูลผู้รู้  นางคำควร  ประเจ้
กระทอนหรือสะทอน ไม้ป่ายืนต้น เนื้อแข็ง ที่พบมากบริเวณแนวป่าเชิงเขาระหว่างเขตติดต่อ อ.ด่านซ้าย จ.เลยกับ
อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงที่ใบของกระทอนจะเริ่มแตกใบอ่อน ชาวบ้านจะนำใบกระทอนอ่อนมาหมักและต้ม จนได้น้ำกระทอนไว้ใช้รับประทานกัน เป็นน้ำปรุงรสแทนน้ำปลา
อุปกรณ์
1.ใบกระทอน  2.กระทะใบบัว  3.ผ้าขาวบาง  4.กระชอน  5.โอ่งมังกรหรือภาชนะพลาสติก  6.เกลือสำหรับปรุงรส
ขั้นตอนการทำน้ำกระทอน
1. นำใบอ่อนกระทอนและกิ่งอ่อนของกระทอนมาตำ โดยใช้ครกกระเดื่องหรือเครื่องบดแต่ไม่ละเอียดมากนัก จากนั้น
นำมาหมักในโอ่งมังกรไว้ประมาณ 4-5 วัน
2. หลังจากหมักใบกระทอนได้ที่ตามกำหนดแล้วจึงนำมาคั้นน้ำ กรองด้วยผ้าขาวบางเอาเศษใบกระทอนที่เหลือออกจะ
ได้น้ำกระทอนที่เป็นสีเขียวอ่อน
3. นำน้ำกระทอนที่ได้มาเคี่ยวในกระทะใบบัวประมาณ 6 ชั่วโมงหรือเคี่ยวจนน้ำแห้งเหลือประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของน้ำ
ที่ต้ม สีของน้ำกระทอนจะกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม เติมเกลือเพื่อปรุงรสเพิ่มรสชาติในกลมกล่อม
4. ตั้งไว้ให้เย็นแล้วบรรจุลงในภาชนะขวดแก้ว พร้อมปิดฝาให้แน่น นำไปรับประทานได้ น้ำกระทอนประมาณ 1 โอ่ง
มังกร ต้มหรือเคี่ยวแล้วจะได้น้ำกระทอนประมาณ 4-5 ลิตร

สถานภาพ
การทำน้ำกระทอนปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการทำเพื่อใช้บริโภคภายในครัวเรือน มีการทำน้ำกระทอนแพร่หลายในพื้นที่และสามารถทำได้เพียงปีละครั้งในช่วงที่ต้นสะทอนผลิใบอ่อน
ผลที่เกิด
น้ำกระทอนสามารถนำมาใช้บริโภคภายในครัวเรือนแทนซอสปรุงรส และหากทำได้มากยังสามารถนำไปจำหน่ายในตลาดภายในท้องถิ่นเป็นรายได้เสริมอีกด้วย
ปัจจัยสำคัญในการผลิตน้ำกระทอน คือ ปริมาณของใบอ่อนของต้นสะทอน  จึงสามารถทำได้เพียงปีละครั้ง ประกอบกับต้นสะทอนในพื้นที่มีปริมาณน้อยลงทุกปีทำให้การผลิตน้ำสะทอนทำได้ในปริมาณไม่มากนัก
แนวทางการสืบทอดการทำน้ำสะทอน ควรมีการส่งเสริมการปลูกต้นสะทอนเพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มวัตถุดิบในการผลิต และควรมีการรวมกลุ่มภายในชุมชน เพื่อให้การผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสามารถผลิตได้มากขึ้นและมีคุณภาพถูกสุขอนามัย สามารถต่อยอดนำไปจำหน่ายเป็นรายได้ให้กับชุมชนได้

น้ำผักสะทอน

เอกลักษณ์ของ อำเภอด่านซ้าย อีกอย่างหนึ่งคือ น้ำผักสะทอน สะทอนเป็นไม้ยืนต้นเฉพาะถิ่น ที่เจริญเติบโตได้ดี พบทั่วไปในพื้นที่ของอำเภอด่านซ้าย  ด้วยภูมิปัญญาของคนด่านซ้าย ได้นำเอาน้ำผักสะทอนมาเป็นเครื่องปรุงรสอาหารได้

วิธีการทำน้ำผักสะทอน

เริ่มแรกต้องตัดเอาใบอ่อนของ ต้นสะทอน มาตำให้ละเอียด จากนั้นนำไปหมักไว้ในภาชนะบรรจุที่มีฝาปิดสนิท ใส่น้ำสะอาดจนท่วมใบสะทอน  หมักทิ้งไว้ 2วัน และคั้นเอาแต่น้ำ และนำน้ำที่ได้ไปเคี่ยว 1 วันเต็ม จะได้น้ำหมักใบผักสะทอน หรือ น้ำผักสะทอน ที่หอมกรุ่น รสชาติเค็มตามธรรมชาติ ชาวบ้านด่านซ้ายใช้ปรุงรสอาหารแทนน้ำปลา หรือ ปลาร้า นำไปประกอบอาหารหลากหลายเมนูImageImageImageภาพจาก : https://phunacomeresort.wordpress.com/2012/03/20/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%99-nampak-sathorn/