…..

นายกฯ วอน ครู 3.9 แสนคน อย่าตกใจข้อเสนอปฎิรูปการศึกษา ถ่ายโอนโรงเรียนไป อปท. ย้ำกังวลครูแต่งดำค้าน อย่าด่วนประท้วง ชี้ยังไม่ถึงเวลา ยังไม่รู้จะระบุไว้ในส่วนใดของรธน. ทุกกฎหมายก็ต้องไปสู้กันใน สนช.

วันนี้ (7 พ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กรณีข้อเสนอปฎิรูปการศึกษา เรื่องกระจายอำนาจจัดการศึกษาสู่ท้องถิ่น โดยถ่ายโอนโรงเรียนและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไปอยู่ในการกำกับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ว่า ตนรู้สึกกังวลในเรื่องนี้ และอยากบอกกับบรรดาครูที่ออกมาแต่งชุดดำคัดค้าน และผู้ที่เกี่ยวข้องว่า อย่าไปตกใจกับกรณีที่มีการเสนอแนวคิดนี้ ซึ่งยังไม่ถึงเวลา และยังไม่รู้เลยว่าการปฏิรูปจะระบุไว้ในส่วนใดของรัฐธรรมนูญ ไม่รู้เลยว่าจะปฏิรูปอย่างไร ใครเป็นผู้ใช้อำนาจ แต่การปฏิรูปนั้นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลชุดใหม่

โดย การปรับแก้ไขภายในกระทรวง ต้องหาผู้ที่รับผิดชอบ ถามว่าสองรัฐบาลที่ผ่านมามีแนวคิดที่จะปฏิรูปแล้วทำได้หรือไม่ ก็ไม่ได้ เพราะการปฏิรูปนั้นกระทบต่อคะแนนเสียง ความเห็นชอบของประชาชน การที่จะให้ประเทศเดินไปข้างหน้า ไม่สามารถเอาใจทุกคนได้ จำเป็นต้องมีกรอบให้เดินในระยะแรก

“ที่ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เสนอให้ครูในพื้นที่ไปขึ้นกับท้องถิ่น เป็นการเสนอใน สปช. แต่ก็เอาแล้ว ไม่ยอม จะเดินขบวน มันยังไม่ออกมาเลย รัฐธรรมนูญก็ยังไม่เสร็จ จะประท้วงอะไรตั้งแต่วันนี้ ทุกกฎหมายก็ต้องไปสู้กันในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กว่าจะออกมาก็สามวาระ ซึ่งก็จะต้องมีการชี้แจง ปรับเปลี่ยน แก้ไข” นายกฯ กล่าว

อย่าง ไรก็ตาม วันนี้ทุกคนต้องเสียสละ มองประโยชน์ของชาติเป็นหลัก จะอยู่อย่างนี้หรือ จะอยู่แบบธรรมชาติต่อไปไม่ได้ วันนี้ได้สั่งการไปว่าเจ้าหน้าที่รัฐต้องยืนยันกฎหมายเป็นกฎหมาย ในการดำเนินการต่างๆต้องนำกฎหมายมาดู เพื่อจะได้ทราบว่ามีผลกระทบอย่างไรบ้าง ทำอย่างไรประชาชนจึงจะอยู่ร่วมกันในกฎหมายที่มีอยู่อย่างเป็นธรรม หากไม่มีปัญหาต่อกันก็ไม่ต้องใช้ วันนี้มีกฎหมายที่แรงที่สุดแล้วคือ กฎอัยการศึก และรัฐธรรมนูญ มาตรา 44 ถามว่าถ้าปลุกระดมกันขึ้นมามากๆ ก็มีโอกาสเกิดขึ้น ถ้าประชาชนไม่เข้มแข็ง ไม่เข้าใจว่าระบบบริหารราชการแผ่นดินเป็นอย่างไร เพราะที่ผ่านมาอธิบายไม่มาก แน่นอนการทำทุกย่างต้องมีปัญหา แต่เราเลือกประชาชนเป็นศูนย์กลาง จะทำอะไรประชาชนต้องได้ประโยชน์

รายงาน ว่าระบุว่า เมื้อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ตัวแทนสมาคมรองผู้อำนวยการสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ได้ออกมาพูดถึงข้อเสนอของ “นายศรีราชา วงศารยางกูร” ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ทำข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา ที่จำเป็นจะต้องร่าง พ.ร.บ.ขึ้นใหม่ 13 ฉบับ

“การ ถ่ายโอนอำนาจการดูแลโรงเรียนไปอยู่กับ อปท. ถือเป็นความเจ็บปวดและเป็นฝันร้ายเหมือนในอดีต ที่ก่อนปี พ.ศ. 2523 โรงเรียนประถมศึกษาอยู่ในความดูแลของ อปท. ซึ่งเวลานั้นครูมีความกดดันมากจึง ต้องลุกขึ้นมาประท้วงและในที่สุดก็โอนย้ายโรงเรียนประถมศึกษามาอยู่ในความ ดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ(สปช.) กระทรวงศึกษาธิการ”

เนื่อง จาก อปท. ยังไม่เข้มแข็งพอที่จะจัดการศึกษาได้เพราะเวลานี้ งานที่ อปท. ดูแลอยู่ทั้งเรื่องถนนหนทาง ระบบไฟฟ้า ประปา แม้แต่การดูแลประชาชนในพื้นที่ก็ยังทำไม่สำเร็จแล้วจะมา บริหารจัดการศึกษาได้

ผล วิจัยปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นของประเทศที่พบว่า อปท. เป็นหน่วยงานที่ติด 1 ใน 5 ที่มีปัญหา ทุจริตคอร์รัปชั่นมากที่สุดมาเป็นตัวอย่างในการคัดค้าน

“การ ที่โรงเรียนและสถานศึกษาอยู่ ในความดูแลของ ศธ.เป็นเรื่องที่ดีแต่ต้อง ช่วยสนับสนุนให้โรงเรียนสามารถบริหาร จัดการตนเองได้หรือมีสถานะเป็นนิติบุคคล โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษาคอยดูแลเพื่อให้การบริหารจัดการให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ หากจะมีการถ่ายโอนอำนาจการดูแลครูไปอยู่กับท้องถิ่นจริง ก็ควรโอนแพทย์และตำรวจไปด้วยทั้งหมด”

ดัง นั้น ระหว่างวันที่ 7-9 พ.ค. คณะ ครูจะมีการแต่ง ชุดดำเชิงสัญลักษณ์พร้อมขึ้นข้อความ “คัดค้าน ไม่ไป ไม่ย้าย ไม่ถ่าย ไม่โอน ครูสู่ อปท.” ด้วยอักษรสีขาว พื้นสีดำ และร่วมลงชื่อคัดค้านเพื่อยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด และส่งไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

สำหรับ ข้อเสนอผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้มีการ ยกเลิกระบบเขต ถ่ายโอนโรงเรียนไปยัง อปท. เวปไซด์ ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้เผยแพร่ข้อเสนอของผู้ตรวจการแผ่นดิน (ศาสตราจารย์ศรีราชา วงศารยางกูร) เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ดังนี้

1. ปัญหาโครงสร้างองค์กรทางการศึกษา

1.1 โครงสร้างขององค์กรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 ซึ่งในหลักการของการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมายึดหลักการในการกระจายอํานาจการ ศึกษา แต่ในสภาพของการบริหารราชการแผ่นดินที่แท้จริงในเรื่องเกี่ยวกับการตามหลัก การ “ยังเป็นการรวมศูนย์อํานาจการบริหารงานทางการศึกษาไว้ที่ราชการบริหารส่วน กลางโดยมีการแบ่งอํานาจการบริหารไปยังหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการในส่วน ภูมิภาค” แต่ใช้ถ้อยคําว่าเป็นการกระจายอํานาจการศึกษา ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามหลักการกระจายอํานาจการบริหารราชที่แท้จริงที่ต้องมีการ กระจายอํานาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงทําให้เกิดการรวมศูนย์ของการจัดสรรทรัพยากรสําหรับการจัดการศึกษาไว้ที่ หน่วยงานกลางในแต่ละแท่ง และแบ่งอํานาจและการจัดสรรทรัพยากรไปยังเขตพื้นที่การศึกษา โดยไม่ได้ส่งตรงไปยังโรงเรียนหรือสถานศึกษาซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการที่ต้องการความเป็นอิสระในการบริหารจัดการทํา ให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาไม่สามารถจัดการกับทรัพยากรทางการศึกษาที่มีอยู่ ได้

1.2 การบิดเบือนโครงสร้างโดยฝ่ายการเมืองเพื่อประโยชน์ทางการเมืองในการปฏิรูป การศึกษาครั้งที่ผ่านมา ฝ่ายการเมืองได้เข้ามาแทรกแซงในการจัดโครงสร้างขององค์กรทางการศึกษาและการ บริหารงานบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้วยการเปลี่ยนแปลงหลักการตามข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างของการบริหารในระดับเขตพื้นที่และการบริหารงาน บุคคล ด้วยการเปลี่ยนแปลงหลักการตามข้อเสนอในระหว่างการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับ การบริหารราชการในกระทรวงศึกษาธิการ เพียงหวังผลทางการเมืองที่ต้องการฐานเสียงและคะแนนนิยมจากกลุ่มครูและ บุคลากรทางการศึกษาที่แอบอิงและรับการอุปถัมภ์ทางการเมือง

1.3 การกําหนดนโยบายการศึกษาของชาติเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในแต่ละยุค ทําให้นโยบายทางการศึกษาไม่มีความต่อเนื่อง และนโยบายการศึกษาที่ถูกกําหนดโดยรัฐบาลแต่ละยุคถูกกําหนดด้วยผลประโยชน์ทาง การเมืองที่มุ่งเน้นความนิยมในคะแนนเสียงการเลือกตั้งเป็นหลัก โดยปราศจากข้อมูลหลักฐานที่จะเป็นการดําเนินให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการ ศึกษาอย่างมุ่งผลสัมฤทธิ์

1.4 ระบบบริหารงานบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่สร้างความเป็นธรรมและไม่ คํานึงถึงความรู้ความสามารถของบุคลากรที่แท้จริง ขาดธรรมาภิบาลในการบริหารทุกระดับ ส่งเสริมให้มีการใช้ระบบการเมืองแบบสามาลย์ในการบริหารงานบุคคล โดยสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงหลักการของฝ่ายการเมืองที่ให้มีกรรมการผู้ แทนครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มาจากการเลือกตั้ง มีการกล่างอ้างและเลื่องลือกันว่าซื้อสิทธิขายเสียงในทุกระดับการเลือกตั้ง มีการวิ่งเต้นซื้อขายตําแหน่งในการแต่งตั้ง โยกย้าย หรือมีการอุปถัมภ์ช่วยเหลือกันโดยไม่ชอบด้วยหลักการของกฎหมายและความเป็น ธรรมในกรณีที่มีครูหรือบุคลากรทางการศึกษากระทําผิดวินัยหรือจรรยาบรรณ วิชาชีพ

2.ข้อเสนอในการปรับโครงสร้างองค์กรทางการศึกษา

2.1 มีการกําหนดนโยบายการศึกษาแห่งชาติที่เป็นไปตามหลักวิชาการทางการจัดและ บริหารการศึกษา ที่มีสภาพการณ์สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นนโยบายที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาครูและผู้เรียน ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จึงควรมีองค์กรกําหนดนโยบายที่ไม่ใช่องค์กรทางการเมือง มีสถานะเป็นองค์กรทางวิชาการที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและการมีส่วนร่วมของ ภาคประชาชนและผู้ปกครองในการกําหนดนโยบายทางการศึกษา ในขณะเดียวกันมีความเชื่อมโยงกับองค์กรทางการเมืองในการสนับสนุนให้นโยบาย การศึกษาของชาติเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริงมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ มีความเป็นธรรมแก่บุคคลทุกกลุ่ม และมุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้และความสามารถอย่างแท้จริง

2.2 มีหลักการที่มุ่งเน้นการกระจายอํานาจในการจัดการศึกษาไปยังองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นชุมชน และกลุ่มผู้สนใจในการจัดการศึกษา ด้วยการถ่ายโอนโรงเรียนและสถาบันการศึกษาไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเต็ม รูปแบบ ยกเลิกระบบเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาในแต่ละท้องถิ่นที่มีความหลากหลาย และเพื่อให้โรงเรียนและสถานศึกษาสามารถบริหารจัดการในทรัพยากรที่ได้รับการ จัดสรรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามนโยบายของท้องถิ่นและนโยบายการศึกษาแห่ง ชาติ

2.3 กําหนดองค์กรและหน่วยงานทางการศึกษาให้มีบทบาทแตกต่างกัน เพื่อการตรวจสอบถ่วงดุลในการจัดการและบริหารการศึกษา เพื่อไม่ให้ปัญหาในการเกื้อหนุนกันหรือปกปิดหรือมีการขัดการในอํานาจหน้าที่ ภายในองค์กรเดียวกัน โดยให้มีการแบ่งองค์กรหรือหน่วยงานในการการจัดหรือบริหารการศึกษาออกเป็น ๔ กลุ่ม คือ

(1.) องค์กรหรือหน่วยงานกําหนดนโยบาย โดยกําหนดให้มี “สภานโยบายและพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ”เพื่อให้เกิดการกําหนดนโยบายที่มุ่งผล สัมฤทธิ์ในการพัฒนาครูและผู้เรียนเป็นสําคัญ และมีหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลของบุคลากรระดับสูง และคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมทางการศึกษา

(2.) องค์กรหรือหน่วยงานปฏิบัติการในการบริหารและจัดการศึกษา แบ่งเป็น องค์กรในส่วนกลางที่ดูแลงานในการบริหาร ควบคุม และติดตามการดําเนินการตามนโยบายการศึกษาแห่งชาติ ในการจัดการศึกษาขั้นปฐมวัยและประถมศึกษา การมัธยมศึกษา การอาชีวศึกษา การอุดมศึกษา การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนสถานศึกษา สถาบันการศึกษา และสถานรับเลี้ยงเด็กเล็ก

(3.) องค์กรหรือหน่วยงานสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาทางการศึกษา ประกอบด้วย สถาบันวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบการศึกษาแห่งชาติ สถาบันครุศึกษาแห่งชาติ และสํานักงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

(4.) องค์กรหรือหน่วยงานตรวจสอบและรับรองมาตรฐานการศึกษา ประกอบด้วย สํานักงานรับรองมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ และสํานักงานรับรองคุณวุฒิทางการศึกษาแห่งชาติ

2.4 ปฏิรูประบบการบริหารงานบุคคลของการศึกษาระดับชาติและระดับท้องถิ่น โดย

(1.) ให้อํานาจในการบริหารงานบุคคลของบุคลากรในส่วนกลาง ในสํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการมัธยมศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสํานักงานคณะกรรมการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นอํานาจของคณะกรรมการในด้านต่าง ๆ

(2.) ให้อํานาจในการบริหารงานบุคคลของบุคลากรในส่วนท้องถิ่น ให้เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น ตามระบบการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

3. ผลที่คาดว่าจะได้จากการปฏิรูปโครงสร้างทางการศึกษา

3.1 มีองค์กรกําหนดนโยบายการศึกษาแห่งชาติที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ ที่จําเป็นการกําหนดนโยบายการศึกษาและมีนโยบายการศึกษาของชาติที่มีความต่อ เนื่อง ที่มีผลกระทบน้อยที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงตามนโยบายของฝ่ายการเมือง

3.2 ปรับระบบจากหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับต่าง ๆ อย่างเบ็ดเสร็จในการกําหนดนโยบาย การปฏิบัติการ การสนับสนุนและพัฒนาทางการศึกษา การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานทางการศึกษา เป็นการแบ่งแยกองค์กร เพื่อจัดทําภารกิจที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาที่แตกต่างกัน เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบถ่วงดุลและหนุนเสริมภารกิจ

3.3 โรงเรียนและสถานศึกษาต่าง ๆ มีการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษาที่ดีขึ้น จัดสรรตรงไปยังโรงเรียนและสถานศึกษา เพื่อให้โรงเรียนและสถานศึกษามีทรัพยากรทางการศึกษาที่เพียงพอ

3.4 มีระบบบริหารงานบุคคลและระบบพิทักษ์ระบบคุณธรรมทางการศึกษา ทั้งในระดับชาติและท้องถิ่นที่ไม่ซ้ำซ้อน มีประสิทธิภาพ และให้ความเป็นธรรมแก่ครูและบุคลากรการศึกษาในทุกระดับ ลดระบบอุปถัมภ์และการขัดกันซึ่งอํานาจหน้าที่

3.5 กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานภายในจะมีขนาดเล็กลง เนื่องจากการกระจายอํานาจทางการศึกษาไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น สํานักงานการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา และสํานักงานการมัธยมศึกษา จะมีหน่วยงานและบุคลากรในส่วนกลางและภูมิภาคเพียงเพื่อการกํากับในทางนโยบาย การศึกษาของแต่ละระดับเท่านั้น ครูและบุคลากรทางการศึกษาจํานวนไม่น้อยกว่า 3.9 แสนคน จะถูกถ่ายโอนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ล่า สุด สมาคมรองผู้อำนวยการสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา ได้ส่งหนังสือขอความสนับสนุนไปยังหลายองค์กร ประกอบด้วย สมาพันธ์ครูประถมศึกษาแห่งประเทศไทย ชมรมครูประชาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมาพันธ์ครูภาคเหนือ สมาคมครูภาคกลาง สมาพันธ์ครูภาคใต้ สหภาพครูแห่งชาติ สมาพันธ์ศึกษานิเทศก์แห่งประเทศไทย สมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย สมาคมรองผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย สมาพันธ์ศึกษานิเทศก์การมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย สมาคมข้าราชการพลเรือนแลับุคลากรทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ สมาคมนักวางแผนการศึกษาแห่งประเทศไทย สมาคมผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแห่งประเทศไทย องค์สมาคม ชมรม กลุ่มวิชาชีพครูทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่การศึกษา และ สมาคมรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(ประเทศไทย).

ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ