อาการ,การรักษา
อาการ,การรักษา
อาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน ขึ้นกับพื้นที่ที่เกิดโรค ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ คือ
1.ไม่มีอาการแสดง (70-80%) ผู้ป่วยพวกนี้จะไม่มีอาการปรากฏให้เห็น อาจจะพบหรือไม่พบ microfilaria ในกระแสโลหิตก็ได้ การตรวจไม่พบ microfilaria เนื่องจากอยู่ในระยะ prepatent period ในบางรายผู้ป่วยจะมี microfilaria อยู่ในโลหิตโดยไม่มีอาการไปตลอดชีวิต
2.ปรากฏอาการ (20-30%) ผู้ป่วยพวกนี้อาจจะพบหรือไม่พบ microfilaria ในโลหิตก็ได้ แต่โดยทั่วไปจะไม่พบ microfilaria อาการแสดงสามารถแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
2.1 อาการเฉียบพลัน ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นอย่างทันที่และเกิดขึ้นอย่างทันทีและเกิดขึ้นซ้ำกัน ปีละหลายๆครั้ง โดยมีการอักเสบของต่อมและทางเดินน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลืองบวมโต ปวด มีไข้ และความรู้สึกไม่สบายกายร่วมด้วย อาการที่เกิดขึ้นเป็นนานประมาณ 3-5 วัน และจะหายไปได้เองโดยไม่ต้องรักษา ความถี่ของการเกิดการอักเสบประมาณ 5-10 ครั้ง/ปี อาการเหล่านี้จะสัมพันธ์กับการติดเชื้อซ้ำ (secondary infection) และจะเกิดขึ้นภายหลังจากติดเชื้อพยาธิแล้วประมาณ 3-9 เดือน
2.2 อาการเรื้อรัง อาการจะเริ่มต้นจากมีการบวมของน้ำเหลือง เริ่มแรกกดบุ๋ม แล้วต่อมาจะบวมมากขึ้น กดไม่บุ๋ม และในที่สุดเกิดเป็นภาวะเท้าช้าง (elephantiasis) อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายหลังจากติดเชื้อพยาธิแล้วประมาณ 5-10 ปี ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ B. malayi จะมีอาการแสดงที่สำคัญ คือ ขาโต โดยมีพยาธิสภาพตั้งแต่ใต้เข่าลงไป และบางครั้งก็จะพบที่แขนตั้งแต่ใต้ข้อศอกลงไป ในขณะที่ผู้ติดเชื้อ W. bancrofti จะเกิดพยาธิสภาพที่บริเวณอวัยวะสืบพันธ์ได้ โดยถ้าเป็นผู้หญิงอาจจะพบอาการบวมของ vulva และที่หน้าอก ส่วนในผู้ชายพบว่ามีการคั่งของนำเหลืองในอัณฑะ (hydrocele) และปัสสาวะเป็นสีขุ่นขาวเหมือนน้ำนม (chyluria) แต่บางรายอาจพบการบวมที่แขน ขาได้ แต่จะเป็นการบวมตลอดทั้งแขนหรอขา
2.3 อาการแสดงอื่นๆ ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ W. bancrofit อาจมีภาวะไตอักเสบซึ่งแสดงออกโดยปัสสาวะมีเม็ดเลือดปนออกมา (hematuria) นอกจากนี้อาจพบว่ามีภาวะ TPE ซึ่งจะมีอาการไอตอนกลางคืนและมี eosinophil ในโลหิตสูง
1.การรักษาด้วยยา ยาที่ใช้คือ Diethylcarbamazine citrate (DEC) เป็นยาที่รักษาโรคเท้าช้างที่ใช้มานานกว่า 40 ปี และเป็นยาที่ดีอยู่ในปัจจุบัน มีผลข้างเคียงน้อยมาก ยานี้มีฤทธิ์ฆ่า microfilaria ในโลหิต และมีรายงานว่าสามารถฆ่าหนอนพยาธิโรคเท้าช้างตัวเต็มวัยได้ และลดการอักเสบของทางเดินน้ำเหลืองด้วย ปัจจุบันยังไม่มีรายงานที่แสดงว่าโรคนี้ดื้อยา
DEC ขนาดของยา 6 mg/นน.ตัว 1 กก./วัน
W. bancrofti กินยาทุก 6 เดือน
B. malayi กินยา 6 วันทุก 6 เดือน
จำนวนยาที่ให้และช่วงเวลาที่ให้ในแต่ละ dose ดังตาราง การจ่ายยา DEC รักษาโรคเท้าช้าง แบ่งตามกลุ่มอายุ ตาราง ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาไม่ต่ำกว่า 2 ปี โดยต้องติดตามเจาะโลหิตซ้ำทุก 6 เดือนก่อนให้ผู้ป่วยกินยา ให้กินยาจนกว่าผลการเจาะโลหิต 2 ครั้งติดต่อกันไม่พบเชื้อพยาธิฯแล้ว (แต่ต้องไม่น้อยกว่า 5 dose)
ผลข้างเคียงของยา
1.เกิดจากพิษของยา ขึ้นอยู่กับขนาดของยา หรือผู้นั้นมีปฏิกิริยาไวต่อยา กล่าวคือผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ง่วงนอน เบื่ออาหาร และคลื่นไส้อาเจียน อาการเหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากกินยา 1-2 ชั่วโมง และจะหายไปเองภายในวันนั้น อย่างไรก็ดีถึงแม้จะกินยาติดต่อกันเป็นเวลานานๆยังไม่เคยแสดงพิษยาเรื้อรัง
2.เกิดจากการทำลาย microfilaria เมื่อ microfilaria ในโลหิตถูกทำลาย สารโปรตีนจาก microfilaria ที่ตายแล้วจะทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ เวียนศีรษะ เบื่ออาหาร และคลื่นไส้อาเจียน อาการเหล่านี้เกิดขึ้นภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังจากกินยาครั้งแรกหรือวันแรกๆ และจะหายไปเองภายใน 2-3 วัน การทำลายพยาธิฯตัวเต็มวัยอาจทำให้ต่อมและท่อน้ำเหลืองอักเสบ เกิดฝีที่ไข่ดันแล้วแตกออก มีบวมน้ำเหลืองของแขนขาชั่วคราว ในราย Bancroftian filariasis อาจมีการอักเสบที่อวัยวะสืบพันธุ์ ภายหลังกินยา 3 วัน-4 สัปดาห์ และเกิดนาน 1-2 สัปดาห์และจะหายไปเอง
การรักษาอาการข้างเคียง เมื่อมีอาการ หรือ 3 เวลาหลังอาหารเป็นเวลา 2-3 วัน
1.paracetamol 500 mg ในกรณีเป็นไข้ ปวดเมื่อย ครึ่งเม็ด สำหรับเด็ก 1 เม็ดสำหรับผู้ใหญ่
2.chlorpheniramine 4 mg ในกรณีเป็นผื่นคัน ลมพิษ และอาการอื่นๆ ครึ่งเม็ด สำหรับเด็ก 1 เม็ดสำหรับผู้ใหญ่
ผู้ที่ห้ามกินยา DEC
1.เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ในกรณีที่ตรวจพบ microfilaria ในกระแสโลหิตไม่ควรจ่ายยา DEC เพราะอวัยวะขับถ่ายของเสีย ได้แก่ ตับ ไต ยังไม่พัฒนาเต็มที่
2.หญิงมีครรภ์ ผู้ป่วยหญิงมีครรภ์และตรวจพบ microfilaria ในกระแสโลหิต ไม่จ่ายยา DEC เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ สำหรับท้องที่ที่มีการระบาดของโรคควรแนะนำหญิงมีครรภ์นอนในมุ้ง พื่อป้องกันไม่ให้ถูกยุงพาหะกัดและนำเชื้อแพร่ไปสู่คนอื่น
3.ผู้ป่วยเรื้อรัง ได้แก่ โรคตับอักเสบ ไตวาย เป็นต้น รวมทั้งผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ การกินยา DEC ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
2.การรักษาตามอาการ
2.1 การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่มีต่อมน้ำเหลืองอักเสบ
ให้ ยา paracetamol เพิ่อบรรเทาอาการปวด บวม ไข้ เท่าที่จำเป็น พักการใช้อวัยวะส่วนที่มีต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ดูแลความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะที่มีต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ เช่น ทำความสะอาด และตัดเล็บมือและเท้า ในกรณีที่ต่อมน้ำเหลืองอักเสบจนเป็นหนอง ควรได้รับการผ่าตัด และติดตามรักษา โดยอยู่ในความดูแลของแพทย์
2.2 การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยที่มีอวัยวะบวมโต
ดูแล ความสะอาดของร่างกายโดยเฉพาะอวัยวะที่บวมโต โดยฟอกให้สะอาดด้วยสบู่ที่ผสม gylcerine2% หรือสบู่อื่นที่ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง ถ้ามีอาการติดเชื้อราควรทายา Whitfield ointment ระหว่างนิ้วเท้าและซอกเล็บเพื่อรักษา ทั้งนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ ตัดเล็บมือ เล็บเท้า ให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันรอยเกาถลอกที่ผิวหนังเมื่อเกิดอาการคัน ระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นกับอวัยวะบวมโต นวดบริเวณที่บวมโตเพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียน และลดการคั่งของน้ำเหลือง ใส่ถุงน่องผ้ายางยืดเป็นประจำในเวลากลางวัน เพื่อลดการคั่งของน้ำเหลืองที่อวัยวะส่วนปลายในผู้ป่วยที่มีอาการบวมในระยะ แรก นอนยกขาสูงในเวลากลางคืนและหลังจากเสร็จสิ้นการนวดด้วยมือแล้ว