ดร.สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองระดับอุดมศึกษา และมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่ผลงานผ่านการคัดเลือกให้นำเสนอ และอภิปราย Best Practices ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560 การประชุมในครั้งนี้มี ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง Civic Education in Germany โดย นายเพเทอร์ พรือเกล เอกอัครราชทูตสหพันธ์รัฐเยอรมนี และ เรื่อง Civic education by Civil society: the work of the Friedrich Naumann Foundation in Thailand โดย นายซิกฟรีด แฮซอล ผู้อำนวยการมูลนิธิฟรีดริช เนามัน เลขาธิการ กกอ. กล่าวว่า จากกรอบแนวคิดการพัฒนาประเทศในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 มี แนวคิดที่ยึดหลักการปฏิบัติตาม “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และขับเคลื่อนให้ บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุก ภาคส่วน ทุกระดับ ยึดแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” มีการเชื่อมโยงทุกมิติของ การพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้งมิติตัวคน สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมือง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้พร้อมเผชิญการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระดับปัจเจกครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง” และพันธกิจในการพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มี คุณธรรม เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะ และการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สถาบันทางสังคมและชุมชนท้องถิ่นมีความ เข้มแข็งสามารถปรับตัวรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง
เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้ แนวทางการดำเนินงานที่สำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ในการขับเคลื่อน แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ไปสู่การปฏิบัติ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : พัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล นั้น ได้พิจารณาแนวทางภายใต้ยุทธศาสตร์มากำหนด แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม/งาน อาทิ ลดวิชาเรียนในชั้นเรียนและบูรณาการวิชาเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีเวลาพัฒนาทักษะการเรียนรู้ นอกห้องเรียน ให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละระดับช่วงชั้น ส่งเสริมการพัฒนาการดำเนินชีวิตและจิตอาสาต่อการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ และจัดกิจกรรมเสริมทักษะผู้เรียนให้สอดคล้องกับนโยบายการปรับลดเวลาเรียนในชั้นเรียน รวมทั้ง จัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการวิชาประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้กอปรกับ ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อ สร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ. 2553 -2561 มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อพัฒนาการศึกษาที่สร้างความเป็นพลเมือง (Civic Education) ในรูปกิจกรรมที่เน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะรอบด้าน เพื่อประโยชน์ของตนเอง สังคมประเทศ ไปจนถึงเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ
2) เพื่อเสริมสร้าง/ฝึกฝนคุณลักษณะของความ เป็นพลเมืองให้กับกลุ่มเป้าหมาย ต่าง ๆ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณาจารย์ และบุคลากรทาง การศึกษา ผู้เรียน ครอบครัว ชุมชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ประชาชนทั่วไป และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการเป็นแบบอย่างที่ดี มีพลังในสังคม สำหรับทำหน้าที่หล่อหลอมปลูกฝังอุปนิสัย ค่านิยมความเป็นพลเมืองให้กับเด็กและเยาวชนได้อย่างลึกซึ้งและแยบคาย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็น “สังคมพลเมือง” (Civil Society) ที่หมายถึง ประเทศที่ประกอบด้วยสมาชิกที่ตระหนักในพลังของ ตนเองและร่วมกันสร้าง “สังคมที่เข็มแข็ง” ในมิติต่าง ๆ อาทิ การเมือง สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประเทศไทยมีความ มั่นคง ประชาชนแต่ละกลุ่มความคิด ความเชื่อ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและปราศจากความรุนแรง ภายใต้การปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเพื่อเตรียมความพร้อมทรัพยากรบุคคลของประเทศในการก้าวสู่การ เป็นประชาคมอาเซียน และประชาคมโลกอย่างสมศักดิ์ศรี และเป็นพลังสำคัญในการสร้างสันติภาพถาวร รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งใน การร่วมแก้ปัญหาของโลกและมนุษยชาติ ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลเมืองโลก
จากแผนพัฒนาฯ และยุทศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองที่กล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่ามุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน อีกทั้งยังสอดรับกับนโยบาย ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งเป็นนโยบายที่ให้คน ในสังคมไทยยึดถือและกำหนดการกระทำของตนเอง โดยยึดหลัก 1) ความซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงาม เพื่อส่วนรวม เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง 2) รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 3) คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติ มากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วเป็นความตั้งใจอย่างเต็มเปี่ยมที่จะก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายที่จะสร้างความเป็น พลเมืองเช่นเดียวกัน
เลขาธิการ กกอ. กล่าว เลขาธิการ กกอ. กล่าวในตอนสุดท้ายว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเยาวชน หรือประชากรวัยเรียนให้เป็นผู้ที่มีความเป็นพลเมือง ยินดีที่จะทุ่มเททรัพยากร และสรรพกำลังในการส่งเสริมสนับสนุนการการสร้าง ความเป็นพลเมืองของประชากรของประเทศ โดยการสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาการจัดการศึกษาด้านการสร้างความเป็น พลเมืองตามบริบทของแต่ละกลุ่มสถาบัน และมุ่งหวังว่าสถาบันอุดมศึกษาที่นำแนวทางที่ได้รับในวันนี้ไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับ อัตลักษณ์ของสถาบันของท่านต่อไป
ที่มา : ประชาสัมพันธ์ สกอ.