ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2560 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ 2 เรื่อง คือ
- อนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 17 คน/รูป แทนประธานกรรมการและกรรมการชุดเดิมที่ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปีแล้ว เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2560 ดังนี้
- นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานกรรมการ
- นายพิทักษ์ บัวแสงใสกรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรเอกชน
- นายนุชากร มาศฉมาดล กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- นางสาวทินสิริ ศิริโพธิ์ กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรวิชาชีพ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์กวิสรา รัตนากร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการประถมศึกษา)
- นายจงภพ ชูประทีป กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ)
- นางบุสบง พรหมจันทร์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการมัธยมศึกษา)
- นางสาวเบญจพร ปัญญายง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการศึกษาปฐมวัย)
- นายพิศณุ ศรีพล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย)
- ว่าที่ร้อยตรีไพศาล ประทุมชาติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการงบประมาณการเงินและการคลัง)
- รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านอุตสาหกรรม)
- นางศรินธร วิทยะสิรินันท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการศึกษาเพื่อคนพิการ)
- นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านธุรกิจและการบริการ)
- นางสาวสุรภี โสรัจจกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการบริหารงานบุคคล)
- นางแสงระวี วาจาวุทธกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส ด้านการศึกษาเอกชน และด้านการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ)
- รองศาสตราจารย์เอกชัย กี่สุขพันธ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการบริหารการศึกษา)
- พระพรหมดิลก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านพุทธศาสนาและการศึกษา)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป
- เห็นชอบแผนปฏิบัติการอาเซียน-จีน เพื่อความร่วมมือด้านการศึกษา
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการรับรองแผนปฏิบัติการอาเซียน-จีน เพื่อความร่วมมือด้านการศึกษา พ.ศ.2560-2563 (Plan of Action for ASEAN – China Education Cooperation 2017-2020)
ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำในแผนปฏิบัติการฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ ศธ. พิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้นได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
สาระสำคัญแผนปฏิบัติการอาเซียน-จีน เพื่อความร่วมมือด้านการศึกษา พ.ศ.2560-2563 (Plan of Action for ASEAN – China Education Cooperation 2017-2020) คือ ได้ระบุถึงกิจกรรมที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องดำเนินการร่วมกัน เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างอาเซียนและจีนใน 6 ด้าน ดังนี้
1) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในทุกระดับ
2) สนับสนุนการเคลื่อนย้ายนักเรียน นักศึกษาและการแลกเปลี่ยนด้านภาษาและวัฒนธรรม
3) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางการศึกษา
4) เสริมสร้างความร่วมมือด้านอาชีวศึกษา
5) สนับสนุนการผลิตและพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษผ่านกิจกรรมและการแลกเปลี่ยนระดับนักเรียน/นักศึกษา รวมถึงการทดลองการเทียบโอนหน่วยการเรียนและวุฒิการศึกษาตามสมัครใจ
6) เสริมสร้างความร่วมมือในด้านอื่น ๆ
ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการอาเซียน-จีนฯ จะเป็นโอกาสสำคัญของไทยในการแสวงหาความร่วมมือเพื่อการพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะด้านอาชีวศึกษา การพัฒนาและผลิตกำลังคนให้สอดรับกับการพัฒนาประเทศไทยในสาขาที่จำเป็นต่อประเทศไทย เช่น เทคโนโลยีระบบรางและรถไฟความเร็วสูง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามเป้าหมายการพัฒนา Thailand 4.0