รวมแบบฝึก แจกลูกสะกดคำ ทุกระดับชั้น รวมไว้ที่นี้ อัพเดท ที่นี้

18014
การแจกลูกสะกดคำ
การอ่านแจกลูกและสะกดคำ เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานของการนำ เสียงพยัญชนะต้น
สระ วรรณยุกต์ และเสียงตัวสะกดมาประสมเสียงกัน ทำให้ออกเสียงคำต่างๆ ที่มีความหมาย
ในภาษาไทย การแจกลูกและการสะกดคำบางครั้งเรียกรวมกันว่า “การแจกลูกสะกดคำ” เพราะในการสอน
แจกลูกสะกดคำจะดำเนินไปด้วยกันอย่างกลมกลืน เพื่อให้นักเรียนได้หลักเกณฑ์ทางภาษาทั้งการอ่าน
และการเขียนไปพร้อมกัน
การแจกลูก
การแจกลูกมีความหมายมี ๒ นัย ดังนี้
นัยแรก หมายถึง การแจกลูกในมาตราตัวสะกดแม่ ก กา กง กน กม เกย เกอว กก กด และกบ
การแจกลูกจะเริ่มจากการจำและออกเสียงพยัญชนะและสระให้ได้ก่อน จากนั้นจะเริ่มแจกลูกในมาตราแม่ ก กา
(ไม่มีเสียงสะกด) จะใช้การสะกดคำไปทีละคำไล่ไปตามลำดับของสระ แล้วจึงอ่านโดยไม่สะกดคำ เรียกว่า
แจกลูกสะกดคำ
นัยที่สอง หมายถึง การเทียบเสียง เป็นการแจกลูกวิธีหนึ่ง เมื่ออ่านคำได้แล้วให้นำรูปคำมาแจกลูก
โดยการเปลี่ยนพยัญชนะต้นหรือพยัญชนะท้าย เช่น
วิธีการเทียบเสียง วิธีนี้มีหลักการ คือ
๑. อ่านสระเสียงยาวก่อนสระเสียงสั้น
๒. เปลี่ยนพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้าย
๓. นำคำที่อ่านมาจัดทำแผนภูมิการอ่าน เช่น
วิธีการอ่านจะไม่สะกดคำแต่ให้อ่านเป็นคำตามสูตรของคำ เช่น อ่าน กา สูตรของคำ คือ -า
นำพยัญชนะมาเติมและอ่านเป็นคำ
การสะกดคำ
เปลี่ยนพยัญชนะต้น เช่น
กา ตา นา มา
ดู ปู ถู หู
เปลี่ยนพยัญชนะท้าย เช่น
คาง คาน คาย คาว
วาง วาน วาย วาว
บ้าน สูตรของคำคือ -้า น เมื่อเปลี่ยนพยัญชนะต้น จะได้คำว่า ก้าน ป้าน ร้าน เป็นต้น
การสะกดคำ หมายถึง การอ่านโดยนำเสียงพยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกดมาประสม
เป็นคำอ่าน
การสะกดคำ มีวิธีการสะกดคำหลายวิธี ถ้าสะกดคำเพื่ออ่านจะสะกดคำตามเสียง ถ้าสะกดคำ
เพื่อเขียนจะสะกดคำตามรูป และการสะกดคำจะสะกดเฉพาะคำที่เป็นคำไทยและตัวสะกดตรงตามรูป
๑. วิธีการสะกดคำตามรูปคำ
กา สะกดว่า กอ-อา-กา
คาง สะกดว่า คอ-อา-งอ-คาง
ร้าน สะกดว่า รอ-อา-นอ-ราน-ไม้โท-ร้าน
๒. วิธีการสะกดคำโดยสะกดแม่ ก กา ก่อน แล้วจึงสะกดมาตราตัวสะกด
ทาง สะกดว่า ทอ-อา-ทา-ทา-งอ-ทาง
บ้าน อ่านว่า บอ-อา-บา-บา-นอ-บาน-บาน-โท-บ้าน
๓. วิธีสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด คำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดจะเป็น
คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ เช่น คำที่มาจากภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
วิธีการสอนอ่านและเขียนมีวิธีการ ดังนี้
๓.๑ ดูรูปคำและอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง
๓.๒ จำรูปคำและรู้ความหมายของคำ
๓.๓ รู้หลักการสะกดคำ เช่น
แม่ กง ใช้ ง สะกด
แม่ กน ใช้ น ร ล ฬ ญ ณ
แม่ กบ ใช้ บ ภ พ ป ฟ
คำที่สะกดไม่ตรงไม่ตรงตามมาตราจะไม่สะกดคำ แต่ใช้หลักการสังเกตรูปคำและรู้หลักการ
สะกดคำ เช่น คำว่า เหตุ ออกเสียงสะกดในแม่ กด
๔. วิธีการสะกดคำอักษรควบ มีวิธีการสะกดคำ ๒ วิธี คือ
๔.๑ การสะกดคำเพื่ออ่าน จะมุ่งที่เสียงของคำด้วยการอ่านอักษรควบก่อนแล้วจึงสะกดคำ เช่น
กราบ ออกเสียง กรฺอ-อา-บอ-กราบ
ครอง ออกเสียง ครฺอ-ออ-งอ-ครอง
๔.๒ การสะกดคำแบบเรียงพยัญชนะต้น วิธีนี้ใช้ในการสะกดคำเพื่อเขียน เช่น
กรอง ออกเสียง กอ-รอ-ออ-งอ-กรอง
ปลาย ออกเสียง ปอ-ลอ-อา-ยอ-ปลาย
๕. วิธีการสะกดคำอักษรนำ มีวิธีการสะกดคำดังนี้
๕.๑ ห นำ ย ร ล ว ให้ออกเสียงพยัญชนะนำก่อน เช่น หน ออกเสียง หนอ หย ออกเสียง
หยอ เป็นต้น แล้วจึงสะกดคำ เช่น หยา สะกดว่า หยอ-อา-หยา หนู สะกดว่า หนอ-อู-หนู ให้เห็นว่าอักษรตัวแรก
มีอิทธิพลต่ออักษรตัวที่สอง ส่วนการสะกดคำเพื่อมุ่งเขียนสะกดคำให้ถูกต้องอาจสะกดแบบเรียงพยัญชนะ
เช่น หนู สะกดว่า หอ-นอ-อู-หนู
๕.๒ อ นำ ย ให้ออกเสียง อย เป็นเสียง ย แล้วสะกดคำ เช่น อย่า สะกดว่า ยอ-อา-ยา-
ยา-เอก-อย่า (ออกเสียง อย่า เพราะอิทธิพลของเสียง อ ที่เป็นอักษรนำ) หรือ ออ-ยอ-อา-ยา-ไม้เอก-อย่า
หรือจำรูปคำทั้ง ๔ คำ ได้แก่ อย่า อยู่ อย่าง อยาก
๕.๓ การสะกดคำที่อักษรสูงนำอักษรต่อเดี่ยว หรืออักษรกลางนำอักษรต่ำเดี่ยว เช่น สง_
สน_ สม_ ผล_ กล_ ถง_ ตล_ เป็นต้น ให้ออกเสียงนำก่อน เช่น สน ออกเสียง สะหนอ สม ออกเสียง สะหมอ
แล้วจึงสะกดคำเพื่อออกเสียงให้ถูกต้อง เช่น เสมอ สะกดว่า สะหมอ-เออ-สะ-เหมอ สนอง สะกดว่า
สะหนอ-ออ-งอ-สะหนอง หรือจะสะกดคำแบบเรียงตัวพยัญชนะเพื่อมุ่งเขียนคำให้ถูกต้อง เช่น เสมอ
สะกดว่า สอ-มอ-เออ-สะเหมอ สนอง สะกดว่า สอ-นอ-ออ-งอ-สะหนอง
๖. วิธีการสะกดคำที่สระเปลี่ยนรูปและลดรูป
สระโอะ มีตัวสะกด จะลดรูป
ลด สะกดว่า ลอ-โอะ-ดอ-ลด
สระอะ มีตัวสะกด จะเปลี่ยนรูปเป็นไม้หันอากาศ
วัน สะกดว่า วอ-อะ-นอ-วัน
สระเอะ มีตัวสะกด จะเปลี่ยนรูปโดยใช้ไม้ไต่คู้
เป็ด สะกดว่า ปอ-เอะ-ดอ-เป็ด
สระเออ มีตัวสะกด จะเปลี่ยนรูป
เดิน สะกดว่า ดอ-เออ-นอ-เดิน
สระแอะ มีตัวสะกด จะเปลี่ยนรูป
แข็ง สะกดว่า ขอ-แอะ-งอ-แข็ง
สระอัว มีตัวสะกด จะเปลี่ยนรูป
ลวด สะกดว่า ลอ-อัว-ดอ-ลวด
๗. วิธีการสะกดคำที่มีตัวการันต์เป็นคำมาจากภาษาอื่น คำที่มีจากภาษาอื่น เช่น ภาษาบาลี
ภาษาสันสกฤตจะมีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด การสะกดคำที่มีตัวการันต์จะให้อ่านเป็นคำ
แล้วสังเกตรูปคำและรู้กฎเกณฑ์ตามหลักภาษาว่าคำที่มีตัวการันต์ พยัญชนะการันต์จะไม่ออกเสียง

ความรู้เรื่อง การสอนอ่านแบบแจกลูกสะกดคำตามหลักภาษา

นื่องจากตอนนี้ เรื่องการสะกดคำที่เห็นก่อนหน้านี้ ไม่คุ้นอย่างที่เราเคยร่ำเรียนมา และมีเพื่อน ๆ หลายท่านแสดงความเป็นห่วงว่าจะทำให้เด็กอ่านหนังสือไม่คล่องหรืออ่านไม่ออก วันนี้มีความรู้มาฝากและทบทวนความจำ สำหรับเพื่อน ๆ ที่อาจจะลืมวิธีการอ่านแบบแจกลูกสะกดคำ ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานตามหลักวิชาการภาษาไทย

ความรู้เรื่อง การสอนอ่านแบบแจกลูกสะกดคำตามหลักภาษา

การแจกลูก

การแจกลูก หมายถึง การเทียบเสียง เริ่มต้นจากการสอนให้จำและออกเสียงคำ แล้วนำรูปคำซึ่งเปรียบเสมือนแม่มากระจายหรือแจกลูก โดยการเปลี่ยนสระ หรือเปลี่ยนพยัญชนะต้น หรือเปลี่ยนพยัญชนะท้าย (ตัวสะกด) มีวิธีการดังนี้

๑. ยึดพยัญชนะต้นเป็นหลัก แจกลูกโดยเปลี่ยนรูปสระ เช่น

กะ กา กิ กี กึ กื กุ กู

๒. ยึดสระเป็นหลัก แจกลูกโดยเปลี่ยนพยัญชนะต้น เช่น

กา ขา คา งา ตา นา ทา วา

๓. ยึดสระและตัวสะกดเป็นหลัก แจกลูกโดยเปลี่ยนพยัญชนะต้น เช่น

กาง ขาง คาง งาง ตาง นาง ทาง วาง

๔. ยึดพยัญชนะต้นและสระเป็นหลัก แจกลูกโดยเปลี่ยนตัวสะกด เช่น

คาง คาน คาย คาว คาก คาด คาบ

การสะกดคำ

การสะกดคำ หมายถึง การอ่านโดยนำพยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกดมาประสมเป็นคำอ่าน ถือเป็นเครื่องมือการอ่านคำใหม่ ซึ่งต้องให้นักเรียนสังเกตรูปคำพร้อมกับการอ่านการเขียน เมื่อสะกดคำจนจำคำอ่านได้แล้ว ต่อไปก็ไม่ต้องใช้วิธีการสะกดคำนั้น ให้อ่านเป็นคำได้เลย จะทำให้นักเรียนอ่านจับใจความได้และอ่านได้เร็ว การสะกดคำ มีหลายวิธี ได้แก่

๑. สะกดตามรูปคำ เช่น

กา สะกดว่า กอ – อา – กา

คาง สะกดว่า คอ – อา – งอ – คาง

ค้าง สะกดว่า คอ – อา – งอ – คาง – ไม้โท – ค้าง

๒. สะกดโดยสะกดแม่ ก กา ก่อน แล้วจึงสะกดมาตราตัวสะกด เช่น

คาง สะกดว่า คอ – อา – คา – คา – งอ – คาง

ค้าง สะกดว่า คอ – อา – คา – คา – งอ – คาง – คาง – โท – ค้าง

๓. คำที่มีสระอยู่หน้าพยัญชนะ ให้สะกดพยัญชนะก่อนสระเสมอ เช่น

เก สะกดว่า กอ – เอ – เก

ไป สะกดว่า ปอ – ไอ – ไป

๔. คำที่เป็นสระลดรูปหรือสระเปลี่ยนรูป อาจสะกดได้ดังนี้ เช่น

กัน สะกดว่า กอ – อะ – นอ – กัน   หรือ กอ – ไม้หันอากาศ – นอ – กัน

คน สะกดว่า คอ – โอะ – นอ – คน  หรือ คอ – นอ – คน

แข็ง สะกดว่า ขอ – แอะ – งอ – แข็ง  หรือ ขอ – แอะ – ไม้ไต่คู้ – งอ – แข็ง

เค็ม สะกดว่า คอ – เอะ – มอ – เค็ม  หรือ คอ – เอะ – ไม้ไต่คู้ – มอ – เค็ม

๕. คำอักษรควบ อาจสะกดได้ดังนี้

๕.๑ สะกดเรียงตัวอักษร มุ่งเพื่อการเขียนให้ถูกต้อง เช่น

กลอง สะกดว่า กอ – ลอ – ออ – งอ – กลอง

พราง สะกดว่า พอ – รอ – อา – งอ – พราง

กวาง สะกดว่า กอ – วอ – อา – งอ – กวาง

๕.๒ สะกดตัวควบพร้อมกัน มุ่งเพื่อออกเสียงคำควบกล้ำให้ชัด เช่น

กลอง สะกดว่า กลอ – ออ – งอ – กลอง

พราง สะกดว่า พรอ – อา – งอ – พราง

กวาง สะกดว่า กวอ – อา – งอ – กวาง

๖. คำอักษรนำ อาจสะกดได้ดังนี้

๖.๑ สะกดเรียงตัวอักษร มุ่งเพื่อการเขียนให้ถูกต้อง เช่น

อยาก สะกดว่า ออ – ยอ – อา – กอ – อยาก

หนา สะกดว่า หอ – นอ – อา – หนา

สนาม สะกดว่า สอ – นอ – อา – มอ – สนาม

๖.๒ อ่านอักษรนำแล้วจึงสะกด มุ่งเพื่อออกเสียงคำให้ถูกต้อง เช่น

อยาก สะกดว่า หยอ – อา – กอ – อยาก

หนา สะกดว่า หนอ – อา – หนา

สนาม สะกดว่า สะหนอ – อา – มอ – สนาม

๗. คำที่ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด คำที่มีตัวการันต์ ให้ใช้หลักสังเกตรูปคำ รู้ความหมายของคำและจำคำให้ได้โดยอ่านและเขียนอยู่เสมอ เช่น เหตุ จันทร์

ข้อสังเกต

๑. การสะกดคำ อาจสอนได้หลายวิธี ครูควรเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งที่เห็นว่าเหมาะสม และใช้วิธีเดียวตลอดการสอน เพื่อมิให้นักเรียนสับสน

๒. การสอนแจกลูกและสะกดคำแต่ละครั้ง ไม่ควรใช้เวลานานเกินไป นักเรียนจะเหนื่อยและเบื่อหน่ายได้ ครูควรสอนควบคู่กับการสอนอ่านเป็นคำ เป็นประโยค เพื่อให้นักเรียนสนุกขึ้นเพราะได้เรียนคำที่มีความหมาย

๓. เมื่อนักเรียนมีพัฒนาการด้านการอ่านมากขึ้น ควรลดการอ่านแบบแจกลูกลง คงไว้แต่เพียงการอ่านสะกดคำเท่านั้น เพื่อมิให้เขียนหนังสือผิด และควรเลิกอ่านสะกดคำเมื่อนักเรียนอ่านเป็นคำได้เองแล้ว

คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ