1.จัดสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นความสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้ เช่น อุปกรณ์ที่มีสี รูปทรง
สถาปัตยกรรม สิ่งที่ผู้เรียนออกแบบกันเอง(ไม่ใช่ครูออกแบบให้ ) เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกมีส่วนร่วมและ
มีความเป็นเจ้าของ
2.สถานที่ส าหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มร่วมกัน เช่นที่ว่าง ๆ ส าหรับกลุ่มเล็ก ซุ้มไม้ โต๊ะหิน
อ่อนใต้ต้นไม้ ปรับที่ว่างเป็นห้องนั่งเล่นที่กระตุ้นการมีปฏิสัมพันธ์ จัดสถานที่ที่กระตุ้นให้เกิดการ
เรียนรู้เป็นกลุ่ม
3.จัดให้มีการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน มีการเคลื่อนไหวกระตุ้นสมองส่วนควบคุม
การท างานของกล้ามเนื้อกับสมองส่วนหน้า ให้สมองได้รับอากาศบริสุทธิ์
4.ทุกส่วนของโรงเรียนจัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้เรียนที่ไหนก็ได้ เช่น บริเวณเฉลียง ทาง
เชื่อมระหว่างตึก สถานที่สาธารณะ

5.เฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะชุมชนเมือง
6.จัดสถานที่หลากหลายที่มีรูปทรง สี แสง ช่อง รู
7.เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมบ่อย ๆ เพื่อให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างหลากหลาย
จะกระตุ้นการท างานของสมอง เช่น เวทีจัดนิทรรศการซึ่งควรเปลี่ยนแปลงเป็นรูปแบบต่าง ๆ
8.จัดให้มีวัสดุต่าง ๆ ที่กระตุ้นการเรียนรู้ พัฒนาการต่าง ๆของร่างกาย มากมาย
หลากหลายและสามารถน ามาจัดท าสื่อประกอบการเรียนรู้ที่มีความคิดใหม่ ๆ โดยมีลักษณะบูรณา
การไม่แยกส่วนจุดมุ่งหมายหลักคือ เป็นวัสดุที่ท าหน้าที่หลากหลาย
9.กระบวนการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น เหมาะสมกับสมองของแต่ละคนและสภาวะที่
เปลี่ยนแปลงไป
10.จัดให้มีสถานที่สงบและสถานที่ส าหรับท ากิจกรรมร่วมกับผู้อื่น
11.จัดให้มีที่ส่วนตัว เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของตน จัดสถานที่
ส่วนตัวของตนและสามารถแสดงความคิด สร้างสรรค์ของตนได้อย่างอิสระ
12.ต้องหาวิธีที่จะให้ชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้มากที่สุด สนามเด็กเล่นในชุมชน
แหล่งเรียนรู้ในชุมชนและท าให้โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต น าเทคโนโลยี
การเรียนทางไกล ชุมชน ภาคธุรกิจ บ้าน ต้องน าเข้ามามีส่วนและเป็นทางเลือกในการเรียนรู้