ผู้ประกอบการหลายคนที่กำลังจะเริ่มหรือกำลังดำเนินธุรกิจของตัวเอง ย่อมจะต้องหาวิธีโปรโมทสินค้าตามช่องทางต่างๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงผลิตภัณฑ์ อันจะนำมาซึ่งยอดขายที่น่าพึงพอใจ หนึ่งในช่องทางที่นิยมในยุคดิจิตอลแม้ว่าจะมีเรื่องของโซเชียลมีเดียเข้ามาช่วยก็คือเว็บไซต์ เพราะหากเทียบกับวิธีอื่นแล้ว การสร้างเว็บไซต์นับว่ามีความปลอดภัยสูงที่สุด ลดความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมข้อมูลได้ดี
ก่อนที่จะมีเว็บไซต์ได้นั้นก็ต้องเลือกเว็บโฮสต์ติ้งก่อน โดยเว็บโฮสติ้งมี 2 ประเภท คือ Windows Hosting และ Linux Hosting แยกตามระบบปฏิบัติการ (OS) ที่ตัวเว็บโฮสติ้งใช้งาน ซึ่งมีอยู่ 2 ระบบปฏิบัติการคือ Microsoft Windows Server และ Linux ถามว่าแล้ว 2 ระบบนี้แตกต่างกันอย่างไร คำตอบก็คือ Windows Hosting สามารถใช้งานได้กับเว็บไซต์ที่เขียนด้วยภาษา ADS, ASP.net และ PHP ได้ ส่วน Linux Hosting ใช้กับเว็บไซต์ที่เขียนโดยภาษา PHP ได้เท่านั้น แต่ถ้าหากเว็บไซต์ที่เขียนโดย HTML ก็สามารถเลือกใช้เว็บโฮสติ้งได้ทั้ง 2 ระบบ
เว็บโฮสต์ติ้งมีหลายรูปแบบการให้บริการตามแต่ละประเภทของงาน ก่อนที่จะเลือกโฮสต์ควรที่จะสำรวจความต้องการของเราก่อน พิจารณาว่าเว็บไซต์ของเรานั้นต้องการการรองรับการใช้งานมากน้อยขนาดไหน ต้องการผลิตภัณฑ์เฉพาะเว็บโฮสติ้งหรือต้องการแบบเบ็ดเสร็จสร้างเว็บไซต์พร้อมกับมีบริการเว็บโฮสติ้งพ่วงให้ด้วย มีเว็บคอนโทรลพาเนลหรือไม่ โทรลพาเนลที่ใช้งานง่าย มีฟังก์ชันขั้นการทำงานขั้นพื้นฐานที่จำเป็นอย่างครบถ้วน มีการสำรองข้อมูลที่ดี ควรมีการสำรองข้อมูลให้ลูกค้าอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และมีระบบรักษาความปลอดภัยได้ดีในระดับหนึ่ง อีกประการสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือ การให้บริการหลังการขาย ไม่ว่าธุรกิจใดเรื่องนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมาเป็นอันดับต้นๆ จะใส่ใจเฉพาะก่อนซื้อขาย หลังจากนั้นปล่อยลอยแพลูกค้าไม่ได้ ในส่วนของผู้ให้เว็บโฮสติ้งนั้นหลังจากติดตั้งระบบเรียบร้อยแล้ว ควรจะให้ลูกค้าติดต่อได้ทันท่วงทีหากเกิดเหตุขัดข้อง หากสำรวจความต้องการครบแล้ว ก็เริ่มหาข้อมูลของผู้ให้บริการแต่ละเจ้าได้เลย
ผู้เริ่มต้นทำธุรกิจหรือกำลังคิดจะทำเว็บไซต์ขนาดไม่ใหญ่ ควรเลือกโอสต์ติ้งที่ราคาไม่สูงมากจนเกินไป แนะนำเป็น Shared Hosting และ VPS Hosting เพราะ Shared Hosting สามารถแบ่งพื้นที่ด้าน Hardware Network ใช้งานร่วมกันใน Server ตัวเดียวกัน โดยผู้ใช้บริการจะต้องใช้โปรแกรมเดียวกันบน Server ด้วย ซึ่งจะเหมาะสำหรับผู้ใช้งานเว็บไซต์ทั่วไปและเว็บไซต์ขนาดเล็ก
ส่วน VPS Hosting คือบริการ Server ที่เป็นเสมือนการบริการว่าเจ้าของเว็บไซต์มี Server เป็นของตัวเอง จัดการ Software ได้ง่ายไม่ยุ่งยาก ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเหมาะกับผู้ที่มีโปรแกรมเฉพาะ หรือต้องการขยายขอบเขตการทำงาน เมื่อเทียบกับ Shared Hosting ถือว่า VPS จะล้ำหน้ากว่า ในแง่ของเมื่อเกิดปัญหาการใช้งานจากผู้ใช้รายใดรายหนึ่งของ Shared Hosting ก็จะกระทบไปถึงผู้ใช้รายอื่นด้วย แต่หากเป็น VPS จะหมดกังวลกับปัญหาเหล่านี้