โรคยอดฮิตของเด็กน้อยในโรงเรียน👼 ในปัจจุบันมีโรคติดต่อในเด็กเล็กเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเด็กวัยทารก 0-5 ปี เนื่องจากเป็นวัยที่ยังมีภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงดี ประกอบกับอยู่ในช่วงที่เริ่มไปสถานรับเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียน ซึ่งเป็นที่ที่เด็กทำกิจกรรมอยู่ร่วมกัน ✳️ หากเกิดการติดเชื้อในเด็กหนึ่งคนสามารถระบาดไปสู่เด็กคนอื่น ๆ ได้ง่าย โดยโรคที่พบบ่อยสำหรับเด็กวัยนี้คือ📌1. ไวรัส RSV เป็นโรคที่พบระบาดในเด็กเกือบตลอดทั้งปี โดยติดต่อผ่านทางน้ำลาย น้ำมูก หรือการสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อไวรัส โดยอาจนำไปสู่อาการแทรกซ้อนที่รุนแรงเช่น หลอมลมอักเสบ ปอดบวม ปอดอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ 🔹อาการ มีไข้ ไอรุนแรง หายใจลำบาก หายใจเร็ว มีเสียงวี๊ด เสมหะมาก ซึม กินอาหารได้น้อยลง 🔸 การป้องกัน หมั่นล้างมือเด็กให้สะอาดและถูกวิธี หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยคนแปลกหน้า เช่น หอมแก้มเด็กเล็ก หลีกเลี่ยงการเล่นเครื่องเล่นในสถานที่สาธารณะในช่วงระบาดของโรค ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ และดูแลอากาศในบ้านให้ปลอดโปร่ง📌2. โรคมือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเอ็นเทอโรไวรัส พบมากในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 10 ปี โดยเด็กเล็กอาการจะรุนแรงกว่าในเด็กโต 🔹อาการ มีไข้ต่ำ อ่อนเพลีย กลืนน้ำลายลำบาก เบื่ออาหาร มีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม มีตุ่มพองใสแดงที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้น หากมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ซึมลง ปวดศีรษะมาก ปวดต้นคอ เพ้อ ควรพบแพทย์ทันที 🔸 การป้องกัน หมั่นล้างมือเด็กให้สะอาดและถูกวิธี หลีกเลี่ยงการเล่นเครื่องเล่นในสถานที่สาธารณะในช่วงระบาดของโรค หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน📌3. ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคเกิดจากไวรัส อินฟลูเอนซ่า มีอาการเบื้องต้นเหมือนไข้หวัดธรรมดา แต่มีความรุนแรงกว่า และสามารถพัฒนาไปสู่อาการแทรกซ้อนรุนแรงอื่นได้ เช่น ปอดอักเสบ ภาวะขาดน้ำ หลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ มักระบาดในช่วงหน้าฝน และหน้าหนาว 🔹อาการ ไข้สูง ตัวร้อน หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ คัดจมูก มีน้ำมูก ไอแห้ง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วง 🔸 การป้องกัน ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้เด็กทุกปี (ฉีดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป) หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยและเสมหะของผู้ป่วย ล้างมือให้สะอาดและถูกวิธีบ่อยๆ และสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน📌4 ท้องร่วง ท้องเสีย เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดในเด็กเล็ก เนื่องจากได้รับเชื้อที่ปนเปื้อนมากับอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือการหยิบสิ่งของเข้าปาก 🔹อาการ ถ่ายเหลว อาจมีไข้ร่วมด้วย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง บางรายมีอาการรุนแรงร่างกายเสียน้ำมากจนมีอาการขาดน้ำ หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้อาการวิกฤตได้ อาการท้องร่วงส่วนมากจะหายได้เอง แต่ต้องระวังภาวะขาดน้ำ การรักษาจึงต้องป้องกันภาวะขาดน้ำโดยการให้ดื่มน้ำเกลือแร่ ORS 🔸 การป้องกัน ล้างมือให้สะอาด ดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ล้างขวดนมให้สะอาด กำจัดขยะมูลฝอยและถ่ายอุจจาระให้ถูกสุขลักษณะ📌5.ไข้เลือดออกโรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี ซึ่งมียุงเป็นพาหะนำโรค 🔹อาการ มีไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียสติดต่อกันหลายวัน ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดเมื่อยตามตัว ผิวหน้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้าแดง อาจมีจุดแดงขึ้นตามตัว หากสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก ควรนำส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจโดยละเอียดต่อไป แม้ไข้เลือดออกอาจดูเหมือนอาการไม่รุนแรงแต่หากได้รับการรักษาไม่ทันเวลาหรือถูกวิธีอาจทำให้เกล็ดเลือดที่ลดต่ำจนนำไปสู่ภาวะช็อก และเสียชีวิตได้ 🔸 การป้องกัน ระวังไม่ให้ถูกกยุงลายกัด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายเอกสารอ้างอิง1. โรคติดเชื้อไวรัสในเด็ก. รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ โรคติดเชื้อไวรัสในเด็ก – โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (chulalongkornhospital.go.th)2. โรคติดต่อในเด็ก. ผศ.นพ.ชนเมธ เตชะแสนศิริ โรคติดต่อในเด็ก • รามา แชนแนล (mahidol.ac.th)ที่มา สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ