มาดูกันว่า “ความเครียด” ส่งผลกระทบอะไรต่อคุณบ้าง!

ความเครียด หรือความกังวล เป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครๆ ก็หนีไม่พ้น เพราะในแต่ละวันเราต่างก็มีเรื่องราว หรือเหตุการณ์ที่ได้เจอและรับมือแตกต่างกันไป แต่การที่เราเคร่งเครียดหรือกดดันตนเองจนมากเกินไปนั้นก็จะก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ความเครียดเรื้อรังนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะปัญหาระยะยาวอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอาการอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เกือบตลอดเวลา เพื่อวิธีรักษาที่ถูกต้องและไม่ให้ความเครียดกลับมาเยือนเราอีก เพื่อนๆ จึงควรหมั่นสังเกตอาการที่เกิดขึ้นกับตนเองเมื่อมีอาการเครียดหรือกังวล ซึ่งแต่ละอาการก็มีลักษณะต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น

    1. คอแห้ง
เพื่อนๆ เคยสังเกตตนเองกันบ้างมั้ยว่าในทุกๆ ครั้งก่อนที่เราจะต้องนำเสนองาน หรือออกไปพูดต่อหน้าผู้คนมากมาย เรามักจะต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ หรือจัดการลำคอและน้ำเสียงที่จะใช้พูด เนื่องจากลำคอของเรามีปฏิกิริยาต่อความเครียด เมื่อร่างกายของเราเกิดความเครียด ของเหลว หรือน้ำที่ได้ดื่มเข้าไปก็จะเดินทางไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกาย ทำให้ลำคอของเราเกิดการติดขัด หรือแหบแห้ง

    2. ปฏิกิริยาต่อตับ
โดยปกติแล้ว ระบบซึ่งเกี่ยวข้องกับไตของมนุษย์นั้นจะมีกลไกในการรับมือกับความเครียด โดยการผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) เพื่อมารับมือกับความเครียดหรือความกดดัน เมื่อร่างกายผลิตคอร์ติซอลในปริมาณมากก็จะทำให้ปริมาณกลูโคสเพิ่มขึ้นอีกด้วย เจ้ากลูโคสหรือน้ำตาลในเลือดที่ให้พลังงานสูงนี้จะควบคุมร่างกายให้เกิดการตอบสนองด้วยการสู้หรือหนี (fight or flight reaction) ร่างกายของมนุษย์เราจะสามารถดูดซึมปริมาณน้ำตาลในเลือดได้โดยไม่เกิดอาการข้างเคียง แต่สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน การมีน้ำตาลสะสมอยู่ในเลือดมากเกินไปคงไม่ใช่เรื่องดี

 3. ปฏิกิริยาต่อผิวหนัง
ผิวหนังของเรายังมีวิธีอื่นๆ ในการแสดงสัญญาณความเครียดให้เราได้รู้ ซึ่งสัญญาณเหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย ปฏิกิริยาการตอบสนองด้วยการสู้หรือหนี (fight or flight) จะทำให้เลือดสูบฉีดไปที่กล้ามเนื้อมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีหากร่างกายของเรากำลังต้องการเลือด แต่ในกรณีที่เลือดสะสมอยู่ภายในกล้ามเนื้อมากเกินไป จะทำให้ผิวหนังของเราดูแก่กว่าวัย และสร้างสารฮิสตามีน (histamine สารกระตุ้นการหลังน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร) ในปริมาณมาก ทำให้เกิดอาการบวมน้ำได้อีกด้วย

    4. ความตึงของกล้ามเนื้อ
ความเครียด เป็นความเจ็บปวดที่อยู่บริเวณลำคอ และเมื่อคุณรู้สึกกังวล หรือเคร่งเครียด กลุ่มกล้ามเนื้อในร่างกายจะรัดตึงและพันกันยุ่งเหยิง ซึ่งส่งผลให้คุณรู้สึกปวดศีรษะ ปวดไหล่และไมเกรนได้อีกด้วย

 เมื่อเพื่อนๆ สะสมความเครียด หรือความกังวลเอาไว้มากๆ หรือต้องมีเหตุการณ์ปัญหาเข้ามาให้แก้ไขหรือเครียดอยู่เป็นประจำ ร่างกายของเราก็จะมีวิธีแสดงอาการออกมาตามอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น

    หัวใจ
หัวใจเป็นอวัยวะที่บอบบางไม่น้อย เมื่อคุณเครียดสะสมเป็นเวลานานจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบหัวใจ เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น การผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) เพื่อรับมือกับความเครียดก็จะลดลง ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ยังสามารถนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงได้อย่าง ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และหัวใจวาย

    ปอด
โดยปกติแล้ว โรคหอบหืดกับความเครียดนั้นมีความสัมพันธ์กันอยู่บ้าง ซึ่งอาการของโรคหอบนั้นมีความคล้ายคลึงกับอาการแพนิค (panic attack) คืออาการหายใจขัดข้อง ปั่นป่วนในท้อง วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม

    สมอง
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อคุณมีความเครียดสะสมมักเกี่ยวข้องกับอาการทางด้านจิตใจ นอกจากนี้ความเครียดสะสมยังอาจส่งผลกระทบต่อระบบสมองของคุณได้ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียควา มทรงจำทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ความทรงจำของคุณอาจจะไม่ได้หายไปทั้งหมด แต่ระบบสมองจะฟื้นความทรงจำ หรือข้อมูลต่างๆ ได้ยากขึ้น

    ระบบย่อยอาหาร
ความเครียดสามารถเข้าไปก่อกวนหลอดอาหารของคุณให้เกิดการบีบเกร็ง และเพิ่มปริมาณกรดในกระเพาะอาหารซึ่งจะทำให้อาหารไม่ย่อย เกิดอาการคลื่นไส้ และถ้าหากคุณมีความเครียดสะสมเป็นระยะเวลานานก็จะส่งผลร้ายแรงยิ่งขึ้น ทั้งกรดไหลย้อน ท้องร่วง หรือท้องอืด เป็นต้น

เห็นมั้ยล่ะว่าความเครียดไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้ามเสมอไป หากสะสมไว้นานหรือไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเรามากมาย ควรหาเวลาว่างเผื่อผ่อนคลายความเครียดทั้งหมดและพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายของคุณได้พักและเตรียมพร้อมในการใช้ชีวิตต่อไป

Source: www.davidwolfe.com