“เมื่อเช้านี้ทำอะไรนะ?” (ก็เพิ่งกินข้าวกันไปหยกๆ) “คุณเป็นใคร?” (หนูเองค่ะแม่) “เอ…ใครขโมยแว่นตาฉันไป?” (ก็วางซุกอยู่ข้างเก้าอี้ไง) คำถามแปลกๆ ที่เรามักจะได้ยินจากญาติผู้ใหญ่ใกล้ตัว ซึ่งทำให้เราคิดว่าท่านเพี้ยนไปจากปกติ ที่เคยเป็นนี่แสดงให้เห็นถึง ช่วงอายุในวัยชรา ซึ่งสามารถบ่งบอกได้ว่า ท่านทั้งหลายเหล่านั้นกำลังเริ่มเลอะเลือน หรืออาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์

aytuguluturk / Pixabay

อย่าฟันธงเองว่าท่านเหล่านั้นอายุมากแล้ว เลยเป็นแบบนี้ เพราะความจริงอาจไม่เป็นอย่างที่คิด…เนื่องจากภาวะความจำเสื่อม มีมูลเหตุปัจจัยและยังพอค้นหาคำตอบ หรือสืบค้นที่มาของอาการ รวมถึงสามารถทำการรักษาได้ แต่ถ้าเป็นโรค “อัลไซเมอร์” จริงๆ แล้วล่ะก็ จะเป็นโรคความเสื่อมของสมองที่รักษาไม่หาย และปัจจุบันก็ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดใดมาสนับสนุนว่ามีวิธีป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

เพียงแต่ว่าคุณเข้าใจกระบวนการและรู้จักคำว่าโรค “อัลไซเมอร์” ดีพอรึยัง??
นายแพทย์ชัยพร เรืองกิจ แพทย์ผู้เชี่ยวชา¬ด้านประสาทวิทยา โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท จะมาช่วยสร้างความเข้าใจ และให้คำจำกัดความของคำว่าโรค “อัลไซเมอร์” ให้เราได้อย่างแท้จริง

อัลไซเมอร์ คืออะไร
โรคอัลไซเมอร์ ค้นพบโดย Alois Alzheimer นักจิตวิทยา (psychiatrist) และ ประสาทพยาธิวิทยา (neuropathologist) ชาวเยอรมันในปี 2449 โรคอัลไซเมอร์นี้เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมองในการสร้างสารความจำที่เรียกว่า Acethylcholine ผลที่ตามมา คือเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความจำ ความคิด สังคม อารมณ์และจิตใจ โดยช่วงอายุที่มีความเสี่ยงคือ 65 ปีขึ้นไป

อัลไซเมอร์แตกต่างจากอาการทางสมองอื่นอย่างไร
อันดับแรกต้องบอกก่อนว่าผู้สูงอายุท่านใดก็ตามที่มีความจำบกพร่องอยู่ในภาวะความจำไม่ดี นั่นคืออาการหนึ่งของความเสื่อมซึ่งขึ้นอยู่ว่าจะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง แต่นั่นยังไม่ใช่ข้อสรุปว่าท่านเป็นโรคอัลไซเมอร์

ยกตัวอย่างเช่น ภาวะที่ทำให้เกิดไข้ มีตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ปอดอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ วัณโรค หรือไข้จับสั่น ทุกอย่างล้วนแสดงอาการเดียวกันในระยะแรกคือไข้ สรุปก็คืออาการของไข้อย่างเดียวบอกแค่ว่าเป็นอาการ แต่ไม่ได้บอกว่าคุณนั้นเป็นโรคไข้หรือโรคใดๆ ชัดเจนเลย

ในทางกลับกันหากยังไม่ทำการตรวจสอบทางการแพทย์ ความจำที่ผิดปกติหรือสมองเสื่อมก็ยังคงเป็นอาการเท่านั้น ซึ่งสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง ลองมาดูกัน

ภาวะความจำเสื่อม สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ ความจำเสื่อมเทียม และความจำเสื่อมจริง

ความจำเสื่อมเทียม เกิดจากปัจจัยภายนอกซึ่งมีผลต่อความจำในขณะนั้น อาทิเช่น ภาวะจากความเครียดของครอบครัวหรือการทำงาน1ขาดความสนใจในสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ใครพูดอะไรก็ไม่สนใจ หรืออาจจะอดนอน นอนน้อย และการที่ไม่อยากรับรู้หรือไม่ต้องการฟังใคร บางทีอาจอยู่ระหว่างการซึมเศร้าก็ได้

ความจำเสื่อมจริง ต้องแยกก่อนว่าคุณไม่ได้อยู่ในภาวะข้างต้น คุณนอนเต็มที่ ไม่ซึมเศร้า ร่าเริงแจ่มใส แต่ความจำไม่ดี ในภาวะเช่นนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุใหญ่ คือ

1. สาเหตุที่แก้ไขได้ เกิดจากสิ่งแวดล้อมของสมองผิดปกติไป เช่น กรณีสมองขาดออกซิเจน1หรือกลูโคส ก็ส่งผลให้สมองทำงานไม่ดีเท่าที่ควร หรือภาวะที่มีไข้ขึ้นสูงในผู้สูงอายุ จากการติดเชื้อในร่างกาย โดยเฉพาะการติดเชื้อเรื้อรังในสมอง เช่น จากเชื้อราหรือวัณโรค หรือมีโรคที่ทำให้อวัยวะภายในอื่นๆ ทำงานผิดปกติอันมีผลทำให้ในกระแสเลือดมีสารพิษเกิดขึ้น อย่างโรคไต โรคตับ เป็นต้น

นอกจากนั้นพบว่า เนื้องอกในสมอง หรือช่องนํ้าในสมองโตขึ้นจากการอุดตันของทางเดินนํ้าในไขสันหลัง หรือภาวะเลือดคั่งในสมอง1จากการล้มหรือการกระทบกระเทือนที่ศีรษะที่อาจจะถูกมองข้ามไปก็สามารถทำให้ความจำเสื่อมได้ โดยอาจจะแสดงอาการผิดปกติในแง่ความจำไม่ดี หรือมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากภาวะปกติอย่างชัดเจน

2. สาเหตุที่แก้ไขไม่ได้ เกิดจากความผิดปกติจากความเสื่อมของตัวสมองเอง นั่นคือ โรคอัลไซเมอร์ หรือโรคอื่นๆ เช่น โรค Pick Disease และโรค Creutzfeldt-Jakob’s Disease เป็นต้น ทำให้สมองเสื่อมได้โดยมีลักษณะพยาธิสภาพจำเพาะซึ่งไม่เหมือนกัน

อาการบ่งชี้ว่าอาจจะมีภาวะสมองเสื่อมหรือเป็นโรคอัลไซเมอร์

  1. การตั้งคำถามซํ้าๆ บ่อยๆ โดยจำไม่ได้ว่าใช้คำถามเดิมแล้วหลายครั้ง
  2. การซ่อนของ หรือลืมว่าไว้ตรงไหนโดยบางทีเก็บไว้ในที่ที่ไม่ควรเก็บ เช่น เก็บหมวกไว้ในตู้เย็น
  3. เกิดเหตุมีขโมยในบ้านทั้งที่อยู่กันแค่ 2 คนแม่ลูก เช่น แว่นตาหาย กระเป๋าเงินหายแล้วบอกว่าลูกขโมยไปทั้งที่ลืมเองว่าไปวางไว้ที่ไหน
  4. ภาวะความจำถดถอยไปเรื่อยๆ เช่น บอกว่ายังไม่ทานข้าว ทั้งที่ทานข้าวแล้วหลายมื้อ ขณะที่เรื่องปัจจุบันจำไม่ได้ แต่เรื่องราวเก่าๆ ในอดีตกลับจำได้แม่น หรือลืมนัดสำคั¬ที่ไม่ควรลืม เช่น นัดพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ หรือมีนัดรับเงินจากการขายที่ดินแต่กลับลืม1ขณะที่บางคนอาจมีอาการมากถึงขั้นอยากกลับบ้านกลางดึกทั้งๆ ที่อยู่ในบ้านของตนเอง

ขณะที่บางทีหลายคนอาจจะรู้สึกไม่ดีต่อ¬าติผู้ให¬่ที่ชอบใส่ร้ายป้ายสี ปั้นนํ้า เป็นตัว ชอบโกหก แต่จริงๆ แล้วท่านไม่ได้มีนิสัยหรือตั้งใจจะเป็นแบบนั้น แต่เป็นเพราะจะมีบางช่วงเวลาที่ความจำของท่านขาดหายไป จนท่านไม่สามารถจะปะติดปะต่อเรื่องราวที่เหลือได้ ท่านจึงจำเป็นต้องเติมเรื่องขึ้นมาใหม่เอง ซึ่งจะจริงบ้างไม่จริงบ้าง และส่วนให¬่จะไม่จริง ทั้งนี้ความจำที่ขาดหายไปนี้จะขยายมากขึ้นมากขึ้น โดยแรกๆ จะหายไปเป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี และหลายปีในที่สุด พร้อมๆ กับอายุของท่านก็จะลดน้อยลงไปทุกทีตามความจำที่เหลืออยู่ จนวันหนึ่งท่านอาจจะเรียกคุณว่า พี่ หรือ แม่ เพราะถึงตอนนั้นท่านจะรู้สึกว่าอายุของท่านน้อยกว่าคุณ

คุณหมอชัยพร ยังบอกอีกว่า ภาวะความจำเสื่อมในผู้สูงวัย จะมีสิ่งบอกเหตุที่สำคั¬ ที่เราจะสังเกตได้แต่เนิ่นๆ คือ เมื่อท่านเริ่มถามซํ้ามากกว่าปกติ หรือลืมในสิ่งสำคั¬ที่ไม่ควรจะลืม นั่นควรต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คสุขภาพว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากความจำที่ไม่ดีตามวัย หรือมีภาวะสมองเสื่อม กันแน่ และมีโรคอื่นแฝงอยู่ซึ่งอาจจะรักษาหรือแก้ไขได้หรือไม่

การตรวจรักษาเบื้องต้น
การตรวจรักษานั้น อันดับแรกแพทย์ต้องดูอาการก่อนว่า เกิดจากภาวะความจำเสื่อมจริงหรือความจำเสื่อมเทียมซึ่งต้องแยกตั้งแต่ความจำระยะสั้น ระยะกลาง ระยะฝังลึก เช่น การสอบถามวันเดือนปีเกิด การสอบถามความรู้ทั่วไป หรือการทดสอบการตัดสินใจแก้ไขปั¬หาในชีวิตประจำวันว่าเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร ซึ่งจะแสดงการทำงานทั้งหมดของสมอง

ทั้งนี้การตรวจวินิจฉัยร่วมกับการตรวจสุขภาพร่างกายทั้งตัวจะทำให้แพทย์รู้ได้คร่าวๆ ในเบื้องต้น เช่น ถ้าพบว่า มีอาการอ่อนแรงของแขนขาเฉพาะส่วน1หรือจอตาบวม
แสดงว่ามีแรงดันในกะโหลกศีรษะสูง อาจมีก้อนในสมอง หรือชีพจรเต้นเร็วกว่า 100 ขึ้นไปต่อนาทีอาจเป็นผลมาจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษหรือพบว่าขาสองข้างบวมอาจเกิดจากภาวะไตทำงานผิดปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ได้ว่าอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะความจำเสื่อมและอาจเป็นโรคที่รักษาได้

หลังจากนั้นแพทย์จะทำการตรวจเลือด ปัสสาวะ1เอ็กซเรย์ปอดและที่สำคั¬คือการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมองซึ่งจะสามารถแยกภาวะโรคในสมองที่ทำการรักษาได้ เช่น เนื้องอกในสมอง ก้อนเลือดในสมอง ช่องนํ้าในสมองโต1ซึ่งสามารถรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อความจำกลับคืนสู่ภาวะปกติได้

สรุปได้ว่าหากเป็นความเสื่อมของสมองโดยไม่รู้สาเหตุ สิ่งนั้นเราจะเรียกกันว่า “อัลไซเมอร์” นั่นเอง

และในเมื่อโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หาย1การบำบัดและดูแลผู้ป่วยจึงนับเป็นสิ่งสำคั¬ยิ่ง1โดยเฉพาะบทบาทของผู้ดูแลซึ่งมักจะเป็นคู่สมรสหรือ¬าติใกล้ชิดก็ควรต้องหมั่นสังเกตอาการในแง่สังคมและอารมณ์อยู่ตลอดด้วยเช่นกัน ฉะนั้นครอบครัวจึงเป็นสิ่งสำคั¬ในการช่วยดูแล1ประคับประคอง1และอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจในภาวะที่เกิดขึ้น เพราะเมื่อระยะเวลาผ่านไป อาการของโรคก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ

วิธีลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์
ขั้นตอนการดูแลสุขภาพที่ไม่ควรมองข้ามกับการดูแลร่างกายเพื่อเป็นเกราะป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อม ทำได้ง่ายๆ หากคุณรู้จักที่จะรักตัวเอง

  • เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะกลุ่มวิตามินบี เสริมอาหารจำพวกพืชผักต่างๆ ถั่ว ผลไม้สด และไม่ควรทานอาหารที่มีสารปรุงแต่งเจือปน
  • ออกกำลังกายเพื่อให้อวัยวะต่างๆ สมบูรณ์แข็งแรง ทั้งนี้การออกกำลังกายจะช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้หลับสนิท จะช่วยลดความเครียดจากงานและสังคม
  • บริหารจิตใจด้วยการมองโลกในแง่ดี รักษาจิตใจให้เป็นปกติ
  • เพิ่มกิจกรรมใหม่ๆ ในชีวิต อาทิ การฝึกใช้สมองบ่อยๆ จากการเล่นเกม การออกนอกบ้านพบปะสังสรรค์หรือเลือกไปช้อปปิ้ง เดินทางท่องเที่ยว หากิจกรรมใหม่ๆ ให้เกิดการบริหารสมองอยู่เรื่อยๆ
  • ผู้สูงอายุควรเข้ารับการตรวจสุขภาพปีละ 1-2 ครั้ง
  • ส่วนผู้ที่ให้การดูแลผู้สูงอายุ การได้มอบความรักความเข้าใจ ใส่ใจในการดูแลทุกข์สุขทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจก็จะช่วยทำให้สุขภาพจิตของคนที่คุณรักดียิ่งขึ้น

การเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายย่อมมีผลต่อระบบอวัยวะภายใน ยิ่งเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยของการเป็นผู้สูงอายุ ความเสื่อมต่างๆ ก็มักถามหา สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดจึงควรเป็นเรื่องของการประคับประคองดูแลสุขภาพให้ แข็งแรงอย่างที่ควรจะเป็นการทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นเข้ารับการตรวจสุขภาพ ย่อมเป็นภูมิคุ้มกันเบื้องต้นที่สามารถชนะอาการหรือโรคต่างๆ ได้

http://www.aiglemag.com/home/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C