๑. เฝ้าระวังการเจ็บป่วย หากพบว่านักเรียน/บุคลากร มีไข้สูงให้สงสัยอาจเป็นโรคไข้เลือดออก ควรแนะนำให้ทายากันยุงและหยุดเรียน พร้อมแจ้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือหน่วยงานสาธารณสุข ของรัฐใกล้เคียง เพื่อดำเนินการควบคุมโรค รวมทั้งสื่อสารไปยังผู้ปกครองนักเรียนให้เฝ้าระวังบุตรหลานของ ตนเองอาจป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะถ้ามีไข้สูง ๒ วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์
๒. จัดการสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนและบริเวณโดยรอบสถานศึกษาให้ปลอดโปร่ง เพื่อไม่ให้ ยุงลายมาอาศัยเกาะพัก และจัดการภาชนะต่าง ๆ ให้ปลอดลูกน้ำยุงลาย เช่น การปิดภาชนะขังน้ำใช้ให้ มิดชิด การใช้ทรายกำจัดลูกน้ำกับภาชนะที่ไม่สามารถปิดฝาได้ การเปลี่ยนน้ำในแจกันทุกสัปดาห์ การจัดเวร ให้นักเรียนสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์ เป็นต้น
๓. จัดกิจกรรมสัปดาห์การรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย (big cleaning day) ในสถานศึกษาและบริเวณรอบสถานศึกษา อย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง พร้อมให้ความรู้และประชาสัมพันธ์ ให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง เรื่องไข้เลือดออก เช่น จัดบอร์ด เสียงตามสาย ให้ความรู้หน้าเสาธง โดยเน้น เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการดูแลป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด